ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการตรวจสอบนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author จงมีสุข, ธนพัฒน์
dc.contributor.author พรหมสถิตย์, สากล
dc.contributor.author ทศมาศ, ภัทรพล
dc.contributor.author วิชัยรัมย์, สถาพร
dc.date.accessioned 2024-03-20T14:45:09Z
dc.date.available 2024-03-20T14:45:09Z
dc.date.issued 2566-07
dc.identifier.citation วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3 (4): กรกฎาคม-สิงหาคม2566. en_US
dc.identifier.isbn 2774-0374
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8802
dc.description.abstract บทบาทหน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ตามกรอบของตัวบทกฎหมายที่กำหนดไว้เป็นลักษณะผู้ปกครองท้องถิ่นตามกลไกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและเป็นตัวแทนภาครัฐที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด อำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบันนั้นกำนันและผู้ใหญ่บ้านต่างก็เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารประเทศ อันเนื่องมาจากทั้งคู่ต่างก็เปรียบเสมือนเป็นแขนขาหรือตัวประสานงานระหว่างรัฐกับประชาชนนั่นเอง ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทการมีส่วนร่วมตรวจสอบนโยบาย (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการมีส่วนร่วมตรวจสอบนโยบายในระดับท้องถิ่น (3)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของกำนันผู้ใหญ่บ้าน (4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายของกำนันผู้ใหญ่บ้านต่อการมีส่วนร่วมตรวจสอบนโยบายในระดับท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษากับกลุ่มประชากร ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับบทบาทการมีส่วนร่วมตรวจสอบนโยบายของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การประมาณค่าพารามิเตอร์ ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ด้วยสถิติไคกำลังสอง ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับบทบาทการมีส่วนร่วมตรวจสอบนโยบาย พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (2) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมตรวจสอบนโยบาย พบว่า มีค่า KMO เท่ากับ 0.755 เหมาะสมใช้วิเคราะห์องค์ประกอบดี สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผ่านเกณฑ์โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.208 ถึง 0.889 มีความเหมาะสมในการใช้วิเคราะห์องค์ประกอบ (3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลมี 8 องค์ประกอบ 30 ตัวบ่งชี้ (4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมตรวจสอบนโยบาย พบว่า ค่าไคสแควร์ (X2) = 2276.252 ที่องศาอิสระ (df) = 977 P-value = 0.051 ค่าไคสแควร์สัมพันธ์ (X2/df) = 2.32 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) =0.984 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.952 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) = 0.013 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) = 0.010 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การวิเคราะห์องค์ประกอบ en_US
dc.subject บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน en_US
dc.subject ตรวจสอบนโยบาย en_US
dc.title บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการตรวจสอบนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Role of Sub-District Headmen in Examining Policies of Local Government Organizations Mueang Buriram District Buriram Province. en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor Thanapat.jm@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics