ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการบริหารงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author กิตติศักดิ์, นามวิชา
dc.date.accessioned 2024-03-08T11:44:56Z
dc.date.available 2024-03-08T11:44:56Z
dc.date.issued 2024-03-05
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8766
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ที่ทำการตอบแบบสัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ที่ทำการตอบแบบสอบถาม คือ บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ตามทฤษฎีการบริหารตามทฤษฎีการบริหาร POCCC ของ เฮนรี่ ฟาโยล(Henri Fayol) 5 ประการ ได้แก่ ได้แก่ การวางแผน การจัดการองค์กร การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน การควบคุม ในแต่ละด้านมีการตั้งข้อคำถามด้านละ 3 ข้อ และวิเคราะห์ 4 ด้าน ได้แก่ด้านที่ 1 จุดแข็ง ด้านที่ 2 จุดอ่อน ด้านที่ 3 โอกาส ด้านที่ 4 อุปสรรค ในแต่ละด้านมีการตั้งข้อคำถามด้านละ 3 ข้อ และแบบสอบถามตามทฤษฎีการบริหารตามทฤษฎีการบริหาร POCCC ของ เฮนรี่ ฟาโยล (Henri FayoV) 5 ประการ ได้แก่ กรวางแผน การจัดการองค์กร การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน การควบคุม ในแต่ละด้านมีการตั้งข้อคำถามด้านละ 5 ข้อ โดยมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง มีนาคม 2567 และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้กระบวนการ PDCA ในการบริหารจัดการงาน คือวงจรบริหารสี่ขั้นตอนที่ประกอบไปด้วย Plan (การวางแผน) Do (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action (การดำเนินการ) วงจรการบริหารงานคุณภาพใช้ในการควบคุมและพัฒนากระบวนการหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง PDCA ทั้งสี่ขั้นตอน และยังพบว่า ด้านการวางแผน การบริหารยึดวัตถุประสงค์ คือ วิธีการบริหารโดยการ กำหนดร่างแผนประจำปี และความสำคัญของปัญหาเพื่อที่จะศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา และจัดทำแผนปฏิบัติงานต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมาย ด้านการจัดองค์กร มีการพัฒนาในรูปแบบของการ บริการที่ทันสมัย และมีการกระจายอำนาจหน้าที่ในการทำงานขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารความเปลี่ยนแปลงได้อย่างประสบความสำเร็จ สามารถนำระบบบริหารงานบุคคลมาใช้กับการช่วยวางแผนการจัดวางกำลังคนให้เหมาะกับงานได้ โดยที่นำข้อมูลต่างๆ ของพนักงาน เช่นอายุเฉลี่ย อายุงานของพนักงานและอื่นๆ มาจำลองวางแผนจัดการกำลังคน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สำรวจ training need ของบุคคลากร ในแต่ละปีเพื่อวางแผนการฝึกอบรม เพิ่มพูนความรู้ เพื่อให้การพัฒนาที่หน่วยงานหรือองค์กรวางแผนพัฒนาบุคลกรในองค์กร มีความคุ้มค่าคุ้มทุนและเป็นการเพิ่มคุณค่า (added value) เพื่อสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีค่าขององค์กร และสามารถนำมาใช้ในการจัดทำแผนการพัฒนาและฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อไป เน้นใช้งบประมาณที่ประหยัดและเกิดผลประโยชน์สูงสุด การบริหารจัดการทุกประเภทจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหรือทรัพยากรทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ได้แก่ บุคลากร (Man) เงิน (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Material และการจัดการ(Management) และจากการตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31 - 40 ปี จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระยะเวลา / อายุงาน ที่ปฏิบัติงาน มากกว่า 2 ปี 1 เดือน ขึ้นไป จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 และ P - Planning : (การวางแผน) ข้อ 1.1) ท่านมีความพึงพอใจต่อกฎระเบียบ วินัยและข้อบังคับในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่ 4.30 O - Organizing : (การจัดองค์กร) ข้อ 2.1) ท่านมีความพึงพอใจที่มีต่อนโยบายหรือมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับบุคลากรของหน่วยงาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย มีค่าเฉลี่ย 4.10 ข้อ 2.4) ท่านมีความพึงพอใจในการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารภายในหน่วยงาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 9.10 C - Commanding : (การบังคับบัญชาหรือสั่งการ) ข้อ 3.2) ท่านมีความพึงพอใจที่มีต่อหน่วยงานมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่าในการบริหารงานในองค์กร เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และสาธารณูปโภคต่างๆ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่ 4.30 C - Coordinting : (การประสานงาน) ข้อ 4.3) ท่านมีความพึงพอใจในการประสานงาน เพื่อให้ บุคลากรได้ทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่ 4.30 C - Controling : (การควบคุม) ข้อ 5.4) ท่านมีความพึงพอใจต่อหน่วยงานของท่านที่มีการควบคุมโรคระบาดหรือโรคประจำถิ่นในชุมชน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.50 en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การบริหาร, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล en_US
dc.title รูปแบบการบริหารงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor kittisak.nv@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics