ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาผลกระทบที่ตามมาของผู้ป่วยภาวะ Long COVID ในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author แสงสว่าง, จารุมาศ
dc.contributor.author บุตรงาม, ทองสา
dc.contributor.author อารมณ์, เขมิกา
dc.contributor.author นพตลุง, ศฐาน์ภัฏ
dc.date.accessioned 2024-03-07T06:35:19Z
dc.date.available 2024-03-07T06:35:19Z
dc.date.issued 2023
dc.identifier.citation วารสารควบคุมโรค ปีที่ 49 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม) 2566 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8753
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตก่อนและหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยภาวะ Long COVID เพื่อศึกษาอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อศึกษาระดับผลกระทบของการแสดงอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการเกิดผลกระทบของการแสดงอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วยภาวะ Long COVID ในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่าพฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้ป่วยก่อนและหลังการติดเชื้อของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ต่างกัน โดยอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นภายหลังการติดเชื้อ 5 อันดับแรก ได้แก่ อ่อนเพลีย ไอเรื้อรัง นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดตามตัว และข้อกระดูก ตามลำดับ ซึ่งระดับผลกระทบของอาการผิดปกติที่มีต่อร่างกายหรือการใช้ชีวิตในระดับที่ค่อนข้างน้อย และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการเกิดผลกระทบของการแสดงอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าสัดส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันทำให้มีระดับผลกระทบของการแสดงอาการที่ตามมาทั้งด้านสุขภาพร่างกายและด้านการใช้ชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were to study the lifestyles of long COVID patients before and after infection with COVID-19, to identify symptoms or complications after infection with COVID-19, to measure the level of impacts of symptoms or complications after infection with COVID-19, and to compare the proportion of occurrence of symptoms or complications after infection with COVID-19 based on basic data of Long COVID patients in Buriram Province. Research participants, were 400 people who had been infected with COVID-19, obtained through the snowball sampling method. The research tool was a questionnaire. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, and chi-square test. Research findings showed that the most respondents lifestyles before and after infection with COVID-19 were not different. The first most common symptoms or complications suffered after the infection were fatigue, chronic cough, insomnia, dizziness, muscle weakness with body and joint pain, respectively. The level of impacts that those symptoms had on the body or lifestyle was relatively low. When comparing the proportion of occurrence of the symptoms or complications after infection with COVID-19, it was found that differences in personal factors resulted in significantly different levels of impacts of symptoms both in terms of physical health and living (p<0.05). en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ลองโควิด en_US
dc.subject อาการผิดปกติ en_US
dc.subject ผลกระทบ en_US
dc.subject จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาผลกระทบที่ตามมาของผู้ป่วยภาวะ Long COVID ในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A study of the consequences of long COVID patients in Buriram Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor Thongsa.bn@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics