ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โครงการวิจัยการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการยุคใหม่ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือพื้นเมืองอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์มุ่งสู่ตลาดออนไลน์

Show simple item record

dc.contributor.author สมบัติ, ประจญศานต์
dc.date.accessioned 2023-12-21T04:13:34Z
dc.date.available 2023-12-21T04:13:34Z
dc.date.issued 2563-05-01
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8726
dc.description.abstract จากแนวคิดในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ ในจังหวัดบุรีรัมย์เป็นแหล่งสำคัญระดับประเทศที่มีภูมิปัญญาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผลิตเป็นผ้าทอมือที่มีคุณภาพมีชื่อเสียง ทั้งนี้ มีกลุ่มชุมชน วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ส่งผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายเข้าคัดสรรโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวนมากกว่า 1,000 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผ้าทอมือซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์ และขยายช่องทางการตลาดสู่การตลาดออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มียุทธศาสตร์หลักเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จึงสมควรที่ต้องนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยยกระดับสินค้าชุมชน OTOP ในพื้นที่อำเภอประโคนชัยซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือด้วยการออกแบบและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 2) เพื่อพัฒนาด้านการส่งเสริมทางการตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ อาศัยกระบวนงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยใช้เทคนิคการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีขั้นตอนการวินิจฉัย ขั้นปฏิบัติการ ขั้นการวัดผล และขั้นผลสะท้อนที่เกิดขึ้น มีผลการวิจัยโดยสรุปดังนี้ ผลยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือด้วยการออกแบบและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการฯ ได้ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ 1. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมผืน ได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่ลายออกแบบใหม่ เช่น นกกระเรียนไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สารสนิมเป็นสารช่วยติด และตกแต่งสำเร็จให้ผ้านุ่มลื่นด้วยนาโนเทคโนโลยี จำนวน 1 กลุ่ม 2. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมผืนลายสมอ ซึ่งเป็นผ้าดั้งเดิมทางวัฒนธรรมไทยเขมร ย้อมด้วยสีเคมี และตกแต่งสำเร็จให้ผ้านุ่มลื่นด้วยนาโนเทคโนโลยี จำนวน 1 กลุ่ม 3. ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายผืนและผ้าด้ายเรยอนผืน ได้แก่ ผ้าขาวม้าออกแบบโครงสร้างใหม่ ย้อมด้วยสีเคมี หรือสีธรรมชาติ และตกแต่งสำเร็จให้ผ้านุ่มลื่นด้วยนาโนเทคโนโลยี จำนวน 3 กลุ่ม 4. ผลิตภัณฑ์แปรรูปประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าด้าย ผ้าขาวม้าเป็นเสื้อผ้าสำหรับบุรุษ สตรี จำนวน 5 กลุ่ม กระเป๋าถือแปรรูปจากกกด้านในบุผ้าทอ กระเป๋าผ้าฝ้าย หมวก หมวกไหมพรมถัก จำนวน 3 กลุ่ม ผ้าพันคอฝ้าย จำนวน 2 กลุ่ม ผ้าพันคอไหมย้อมด้วยสีธรรมชาติ และตกแต่งสำเร็จให้ผ้านุ่มลื่นด้วยนาโนเทคโนโลยี จำนวน 1 กลุ่ม 5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าด้ายประเภทของใช้ ของที่ระลึก เช่น พวงกุญแจนกกระเรียนไทย จังหวัดบุรีรัมย์ พวงกุญแจผ้า ที่ใส่กล่องทิชชู กระเป๋าใส่แก้วเก็บความเย็น หมอนรูปสุนัข จำนวน 2 กลุ่ม ผลการพัฒนาด้านการส่งเสริมทางการตลาดออนไลน์แก่กลุ่มผู้ประกอบการ การดำเนินงานของโครงการส่งผลต่อการพัฒนาด้านการส่งเสริมทางการตลาดออนไลน์แก่กลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งในระหว่างดำเนินโครงการประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยประสบสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การอยู่บ้าน การทำงานที่บ้าน ฯลฯ เพื่อยับยั้งการแพร่การกระจายเชื้อ ทำให้มีการปิดสถานที่เสี่ยงชั่วคราว และห้ามจัดกิจกรรมชุมชนคน ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบ การได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เนื่องจากขาดแหล่งจำหน่ายสินค้า ตลาด งานออกร้าน งานเทศกาล การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวในภาพรวม และที่สำคัญคือผลกระทบของโรคระบาดทำให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจในวงกว้างส่งผลต่อกำลังซื้อสินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ผ้าทอมือ en_US
dc.subject ออกแบบ en_US
dc.subject design en_US
dc.title โครงการวิจัยการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการยุคใหม่ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือพื้นเมืองอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์มุ่งสู่ตลาดออนไลน์ en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics