ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่ออุบัติการณ์โรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์

Show simple item record

dc.contributor.author เบญจพร ศรีสมบูรณ์
dc.contributor.author ชนัดดา รัตนา
dc.date.accessioned 2023-09-15T09:34:30Z
dc.date.available 2023-09-15T09:34:30Z
dc.date.issued 2564-07-18
dc.identifier.citation วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 36 ปีที่ 13 ฉบับที่ 18 กรกฎาคม – ธันวาคม 2564 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8685
dc.description.abstract มาลาเรียเป็นโรคที่ร้ายแรงที่พบบ่อยในพื้นที่เขตร้อน และเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุขในประเทศไทย ปัญหาการแพร่เชื้อของโรคมาลาเรียจะมีสูงมากในพื้นที่บริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย วัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่ออุบัติการณ์โรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล (Overlay) กำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก (Weighting) และค่าคะแนนของแต่ละปัจจัย (Rating) ซึ่งกำหนด 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) ความหนาแน่นของผู้ป่วยมาลาเรีย 3) ปริมาณน้ำฝน 4) ระยะการบินของยุงก้นปล่อง 5) อุณหภูมิ และ 6) ความชื้นสัมพัทธ์ ผลการศึกษาพบว่า สามารถจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมาลาเรียได้ทั้งหมด 3 ระดับ คือ 1) พื้นที่เสี่ยงมากที่สุดมีเนื้อที่ 1,205.59 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 50.94 ของพื้นที่ทั้งหมด 2) พื้นที่เสี่ยงปานกลาง มีเนื้อที่ 965.85 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 40.80 ของพื้นที่ทั้งหมด และ 3) พื้นที่เสี่ยงน้อยมีเนื้อที่ 195.46 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.26 ของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อจำแนกเป็นรายอำเภอ พบว่าอำเภอสังขะมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 458.88 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 19.38 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือ อำเภอบัวเชดมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 356.89 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 15.08 ของพื้นที่ทั้งหมด อำเภอกาบเชิงมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 277.21 คิดเป็นร้อยละ 11.71 ของพื้นที่ทั้งหมด และอำเภอพนมดงรักมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 112.61 คิดเป็นร้อยละ 4.76 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยปี พ.ศ.2557-2561 มีทั้งสิ้น 919 คน เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงมาก 727 คน คิดเป็นร้อยละ 79.10 อยู่ในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง 187 คน คิดเป็นร้อยละ 20.34 และอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้อย 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.54 ซึ่งพื้นที่เสี่ยงที่ได้จะเป็นข้อมูลในการสนับสนุนการวางแผนป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคมาลาเรียได้ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject พื้นที่เสี่ยง , อุบัติการณ์โรคมาลาเรีย , ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ , ชายแดนไทย-กัมพูชา en_US
dc.title การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่ออุบัติการณ์โรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ en_US
dc.title.alternative Application of Geographic Information System to Identify Risk Areas Malaria Incidence in Thailand - Cambodia Border, Surin Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor chanatda.rn@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics