ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การออกแบบแปรรูปผ้ามัดหมี่ไทยเขมรอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Show simple item record

dc.contributor.author สมบัติ, ประจญศานต์
dc.contributor.author พิพัฒน์, ประจญศานต์
dc.date.accessioned 2023-05-22T05:40:20Z
dc.date.available 2023-05-22T05:40:20Z
dc.date.issued 2566-05-22
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8617
dc.description.abstract บุรีรัมย์เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ประชากรที่อาศัยในชุมชนบ้านหนองม่วง และบ้านโคกปราสาทพัฒนา อำเภอประโคนชัย ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเขมรที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ไว้อย่างเหนียวแน่น รวมถึงการผลิตผ้าทอมือด้วยภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ บุรีรัมย์เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ประชากรที่อาศัยในชุมชนบ้านหนองม่วง และบ้านโคกปราสาทพัฒนา อำเภอประโคนชัย ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเขมรที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ไว้อย่างเหนียวแน่น รวมถึงการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายแบบดั้งเดิม กลุ่มทอผ้าบ้านหนองม่วง หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านไทร อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์และกลุ่มทอผ้าบ้านโคกปราสาทพัฒนา หมู่ที่ 12 ตำบลละเวี้ย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์นี้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายเขมรอพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ยังคงรักษาวัฒนธรรมของชาวไทยเขมรไว้อย่างเหนียวแน่นรวมถึงภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายดั้งเดิม มากกว่า 20 ลาย เช่น ปะกาตร๊อบ (ดอกมะเขือ) กะแอกโกร (ฝูงลูกกา) โกนฮีง (ลูกอึ่งอ่าง) ปวงกระดามตูก (ไข่แมงดา) เนียะเดิมสรอล (นาคต้นสน) โฮล (น้ำไหล) กูมปรัม (โคมห้า) กะลาสะนัน (แห) ตะเกาะ (ตะขอ) ปะกาเอาะอันเดอร (ดอกกระเจียว) สรอล (ต้นสน) โกนกะแอก (ลูกกา) เนียะ (นาค) อันเนิกเมียส (แมลงเต่าทอง) ปะกาเมี๊ยะ (แหวนเพชร) กะบาลอันจุล (หัวเข็มขัด) กูม (โคม) กะลาสะนัน (แห) ตะเกาะ (ตะขอ) บายสไรย (บายศรี) และลายสกลนคร แต่พบว่าสินค้ามีราคาสูงและขาดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าด้วยการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้ามัดหมี่ไทยเขมร และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าด้วยการส่งเสริมตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการตั้งแต่ศึกษาความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลิตต้นแบบ ติดตามการผลิต เพิ่มช่องทางการจำหน่ายด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสรุปบทเรียน ผลการวิจัยระบุว่า กลุ่มสามารถผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เป็นย่าม กระเป๋าสะพาย เข็มกลัด ที่รัดผม พวงกุญแจ รวมจำนวน 30 ชิ้น จัดทำป้ายข้อมูลเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้า 6 แผ่นและมีส่งเสริมการตลาดโดยช่องทางการจำหน่ายด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับก่อนมีโครงการ ข้อเสนอแนะให้ชุมชนควรเร่งขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สมาชิกตัดเย็บแปรรูป ผู้ว่างงาน ผู้ที่ต้องการอาชีพเสริมในชุมชนเพื่อให้ทันความต้องการสินค้าของผู้บริโภค en_US
dc.description.sponsorship ฺBiriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ออกแบบ en_US
dc.subject Design en_US
dc.subject ผ้าทอมือ en_US
dc.subject Textiles en_US
dc.subject มัดหมี่ en_US
dc.subject Mudmee en_US
dc.title การออกแบบแปรรูปผ้ามัดหมี่ไทยเขมรอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics