ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่สินค้าสร้างสรรค์เชิงนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเขตชีวมณฑลภูเขาไฟทั้ง 6 ลูกในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author สมบัติ, ประจญศานต์ และคณะ
dc.date.accessioned 2023-05-20T01:20:58Z
dc.date.available 2023-05-20T01:20:58Z
dc.date.issued 2564-12-30
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8594
dc.description.abstract บุรีรัมย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วพบมากถึง 6 ลูก สามารถเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม และความเป็นเมืองกีฬาระดับนานาชาติ ผลักดันให้ภูเขาไฟบุรีรัมย์เป็นหมุดหมายใหม่ทางการท่องเที่ยวร่วมกับ 6 ชุมชน ได้แก่ บ้านเขาคอก บ้านบุ บ้านโคกเมือง บ้านเจริญสุข บ้านถาวร และบ้านโคกใหญ่ ย่อมสร้างโอกาส สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยกระดับให้เกิดคุณค่าทางนิเวศวัฒนธรรมได้โดยพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ งานวิจัยนี้อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งจากชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องผ่านกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ เวทีสนทนากลุ่ม อบรมเชิงปฏิบัติการ สำรวจความคิดเห็น ทดสอบเส้นทางและรายการท่องเที่ยว เวทีสรุปบทเรียน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมเขตชีวมณฑลภูเขาไฟ 6 ลูกจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ผลการวิจัยระบุวิสัยทัศน์ของแผนว่า ภายในปี พ.ศ. 2569 ภูเขาไฟจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสร้างสรรค์โดยชุมชนท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและการท่องเที่ยวเชิงกีฬามาตรฐานโลก และเตรียมพร้อมยกระดับสู่อุทยานธรณีประเทศไทยภูเขาไฟบุรีรัมย์ โดยมีพันธกิจ 4 ประการ นำไปสู่การกำหนด 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับสุนทรียภาพให้กับสิ่งอำนวยความสะดวกและการสื่อความหมายของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างการตระหนักรู้และรับรู้ตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมพลังบุคลากรให้บริหารจัดการและการบริการทางการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการเสริมสร้างให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่เน้นการจัดการที่มีประสิทธิภาพของชุมชน การให้ผลประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ชุมชน มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมและการลดผลกระทบทางลบ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวและผลักดันสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาทรัพยากรทางนิเวศวัฒนธรรม งานวิจัยให้ข้อเสนอแนะในการบูรณาการด้านบริหารจัดการพื้นที่ภูเขาไฟของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน en_US
dc.description.sponsorship หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ท่องเที่ยว en_US
dc.subject ภูเขาไฟ en_US
dc.subject Tourism en_US
dc.subject Volcano en_US
dc.title การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่สินค้าสร้างสรรค์เชิงนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเขตชีวมณฑลภูเขาไฟทั้ง 6 ลูกในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Development of Local Product into Creative Eco-Cultural Tourism Products of The Biosphere of the Six Volcanoes in Buriram Province. en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics