ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาผลิตภัณฑ์จากน้ำมันสมุนไพร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารยา มุสิกา en_US
dc.contributor.author บรรเทิงใจ, สุทัศน์
dc.contributor.author เกียนกุ, อณารินทร์
dc.contributor.author มุสิกา, อารยา
dc.date.accessioned 2023-03-16T03:25:56Z
dc.date.available 2023-03-16T03:25:56Z
dc.date.issued 2023-02-25
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8526
dc.description วท.บ.เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.description.abstract การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขั้นตอนการทำน้ำมันสมุนไพรและเพื่อเปรียบเทียบน้ำมันสมุนไพรสูตรใดที่ผู้บริโภคมีความพึงพอใจมากที่สุด สูตรน้ำมันสมุนไพรทั้ง 3 สูตร ทำการทดลองที่ 54/2/2 ถ.ธานี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000 ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม 2565 โดยตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า SD ส่วนตอนที่ 2 ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง (Treatment) จำนวน 40 ซ้ำ (Replication) ได้แก่ T1: น้ำมันไพล T2: น้ำมันมะกรูด และ T3: น้ำมันตะไคร้หอม ผลการทดลองพบว่า ตอนที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศ คือ เพศชาย ร้อยละ 50 เพศหญิง ร้อยละ 50 เท่ากัน มีอายุระหว่าง 21-25 ปี มากที่สุด ร้อยละ 72.5 ส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศึกษามากที่สุด ร้อยละ 50 ไม่เคยใช้น้ำมันสมุนไพรมากที่สุด ร้อยละ 52.5 ความเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์น้ำมันสมุนไพรพบว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ มากที่สุด ร้อยละ 35.29 ตอนที่ 2 ลักษณะปัจจัยคุณภาพ ด้านกลิ่นของน้ำมันสมุนไพรที่ผู้ประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ T2:น้ำมันมะกรูด เฉลี่ย 4.15 T3:น้ำมันตะไค้หอม เฉลี่ย 4.15 ด้านสีของน้ำมันสมุนไพรที่ผู้ประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ T3:น้ำมันตะไคร้หอม เฉลี่ย 4.15 ด้านประสิทธิภาพของน้ำมันสมุนไพรที่ผู้ประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ T1:น้ำมันไพล เฉลี่ย 4.13 ด้านความชอบโดยรวมของน้ำมันสมุนไพรที่ผู้ประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ T3:น้ำมันตะไคร้หอม เฉลี่ย 4.28 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปัจจัยคุณภาพของลักษณะ กลิ่น สี ประสิทธิภาพ และความชอบโดยรวม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบน้ำมันสมุนไพร T3: น้ำมันตะไคร้หอม มากที่สุด ความสำคัญ : ไพล , มะกรูด , ตะไคร้หอม , การสกัด en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ไพล , มะกรูด , ตะไคร้หอม , การสกัด en_US
dc.title การศึกษาผลิตภัณฑ์จากน้ำมันสมุนไพร en_US
dc.title.alternative study herbal oil products นาย en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline เกษตรศาสตร์ en_US
dc.degree.level ปริญญาตรี en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรบัณฑิต en_US
dc.contributor.emailauthor araya.mu@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics