ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาออนโทโลยีความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร

Show simple item record

dc.contributor.author จุฑามาศ พรหมทอง, วิระพงศ์ จันทร์สนาม
dc.date.accessioned 2022-11-25T04:44:45Z
dc.date.available 2022-11-25T04:44:45Z
dc.date.issued 2565-11-25
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8434
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร 2) เพื่อศึกษาขอบเขตและโครงสร้างความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร และ3) การพัฒนาออนโทโลยีความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นวิธีการวิจัยและพัฒนา การศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การศึกษาการใช้ความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม คือ อาจารย์ นักวิชาการ ช่างทอผ้า ผู้ประกอบการธุรกิจ นักศึกษา จำนวน 36 คน ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ขอบเขตและโครงสร้างความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร กำหนดโครงสร้างความรู้ตามกรอบวัฒนธรรม จัดโครงสร้างความรู้และวิเคราะห์คุณลักษณะความรู้ด้วยฟาเซทของ Spiteri (1998) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา และส่วนที่ 3 การพัฒนาออนโทโลยีความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร เป็นการนำผลการศึกษาส่วนที่ 2 มาพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาออนโทโลยี Uschold and King (1996) และ Noy and McGuinness (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา คือ Protégé หลังจากนั้นใช้ WIDOCO นำเสนอออนโทโลยีผ่านทางหน้าเพจ HTML ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การศึกษาการใช้ความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร พบว่า วัตถุประสงค์การใช้ความรู้เป็นการใช้ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อทำงานวิจัย เอกสารสรุปโครงการ รวบรวมองค์ความรู้สำหรับเป็นวิทยากรให้กับชุมชน เนื้อหาที่ใช้ คือ การผลิตเส้นไหม สี ลวดลาย เครื่องมือทอผ้า กระบวนการทอผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ วิถีชีวิตกับผ้าทอ ความเชื่อเกี่ยวกับผ้า ประเพณี แหล่งสารสนเทศที่ใช้ คือ แหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต เทคนิคการค้นคืนและเข้าถึงความรู้ คือ กำหนดคำค้นโดยใช้คำสำคัญ ปัญหาการใช้ความรู้คือ การกำหนดคำค้นบางคำเป็นคำเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร ศัพท์เทคนิคหรือคำศัพท์เฉพาะด้านผ้าทำให้ไม่สามารถค้นคืนความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการ การศึกษาขอบเขตและโครงสร้างความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร พบว่า 1) การวิเคราะห์เนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด 78 รายการ มีทั้งหมด 2 หมวด 11 หมวดย่อย 35 หมู่ย่อย ประกอบด้วย 1) หมวดผ้าทอ มี 7 หมวดย่อย 23 หมู่ย่อย ประกอบด้วย หนอนไหม หม่อน สี ลวดลาย เครื่องมือทอผ้า กระบวนการทอผ้า ผ้า 2) หมวดวัฒนธรรมผ้าทอ มี 4 หมวดย่อย 12 หมู่ย่อย ประกอบด้วย การแต่งกาย พิธีกรรม ประเพณี ความเชื่อกับผ้าทอ และคุณลักษณะความรู้ ประกอบด้วย 1) Things จำนวน 1 คุณลักษณะ 2) Theory &Philosophy จำนวน 2 คุณลักษณะ 3) Kind จำนวน 9 คุณลักษณะ 4) Materials จำนวน 5 คุณลักษณะ 5) Properties จำนวน 1 คุณลักษณะ 6) Processes จำนวน 3 คุณลักษณะ 7) Operations จำนวน 2 คุณลักษณะ 8) Product จำนวน 3 คุณลักษณะ 9) Time จำนวน 2 คุณลักษณะ en_US
dc.description.sponsorship สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ออนโทโลยี en_US
dc.subject ออนโทโลยีความรู้วัฒธรรมผ้าทอ en_US
dc.subject วัฒนธรรมผ้าทอ en_US
dc.subject วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร en_US
dc.title การพัฒนาออนโทโลยีความรู้วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร en_US
dc.title.alternative Ontology Development for Cultural Knowledge of Thai – Khmer Textiles en_US
dc.type Research en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics