ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบึงประดิษฐ์แบบการไหลใต้ผิวดินในแนวดิ่งโดยใช้ชั้นกรองร่วมกับต้นธูปฤาษี และต้นกกกลม

Show simple item record

dc.contributor.author กุลธิดา ธรรมรัตน์
dc.contributor.author ธีรารัตน์ จีระมะกร
dc.date.accessioned 2022-03-18T09:51:43Z
dc.date.available 2022-03-18T09:51:43Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8169
dc.description.abstract บทคัดย่อ การบำบัดน้ำเสียในระบบบึงประดิษฐ์แบบการไหลใต้ผิวดินในแนวดิ่งโดยใช้ชั้นกรองร่วมกับ ต้นธูปฤาษี และต้นกกกลม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียแบบการไหล ใต้ผิวดินในแนวดิ่งโดยใช้ชั้นกรองร่วมกับพืช และเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งในหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน โดยออกแบบชุดการทดลองเพื่อจำลองระบบบำบัดน้ำเสียจากถังพลาสติกขนาด 70 ลิตร ภายในถังมีชั้นกรอง 4 ชั้น ประกอบด้วย 4 ชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่ 1 ชั้นกรองร่วมกับต้นธูปฤาษี ชุดการทดลองที่ 2 ชั้นกรองร่วมกับต้นกกกลม ชุดการทดลองที่ 3 ชั้นกรองร่วมกับต้นธูปฤาษีและต้นกกกลม และชุดการทดลองที่ 4 ชุดควบคุม (น้ำเสีย) ทำการเก็บตัวอย่างน้ำก่อนเข้าระบบและน้ำที่ผ่านระบบบำบัดในทุก 6 วัน จากนั้นวิเคราะห์ หาค่าพารามิเตอร์ทั้ง 6 พารามิเตอร์ ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง, บีโอดี, ของแข็งแขวนลอย, น้ำมันและไขมัน, ไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสทั้งหมด ผลการทดลองพบว่า 1) ทั้ง 3 ชุดการทดลอง สามารถบำบัดค่าความเป็นกรด-ด่าง โดยทำให้มีค่าลดลงร้อยละ 3.69-4.43 ซึ่งชุดการทดลองที่ 3 สามารถบำบัดค่าความเป็นกรด-ด่างได้ดีที่สุด 2) ทั้ง 3 ชุดการทดลอง สามารถบำบัดค่าบีโอดีได้ โดยมีค่าลดลงร้อยละ 76.06-83.71 ซึ่งชุดการทดลองที่ 1 สามารถบำบัดค่าบีโอดีได้ดีที่สุด 3) ทั้ง 3 ชุดการทดลอง สามารถบำบัดค่าของแข็งแขวนลอยได้ โดยทำให้ มีค่าลดลงร้อยละ 32.66-54.36 ซึ่งชุดการทดลองที่ 3 สามารถบำบัดค่าของแข็งแขวนลอยได้ดีที่สุด 4) ทั้ง 3 ชุดการทดลอง สามารถบำบัดน้ำมันและไขมันได้ โดยทำให้มีค่าลดลงร้อยละ 51.94-59.18 ซึ่งชุดการทดลองที่ 1 สามารถบำบัดค่าน้ำมันและไขมันได้ดีที่สุด 5) ทั้ง 3 ชุดการทดลอง สามารถบำบัดค่าไนโตรเจนทั้งหมดได้ โดยทำให้มีค่าลดลงร้อยละ 65.91-81.82 ซึ่งชุดการทดลองที่ 3 สามารถบำบัดค่าไนโตรเจนทั้งหมดได้ดีที่สุด 6) ทั้ง 3 ชุดการทดลอง สามารถบำบัดค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดได้ โดยมีค่าลดลงร้อยละ 35.00-76.50 ซึ่งชุดการทดลองที่ 2 สามารถบำบัดค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดได้ดีที่สุด จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าระบบบำบัดแบบการไหลใต้ผิวดิน ในแนวดิ่งโดยใช้ชั้นกรองร่วมกับ ต้นธูปฤาษีและต้นกกกลม (ชุดการทดลองที่ 3) มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการบำบัดน้ำทิ้งจากหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ระบบบึงประดิษฐ์แบบการไหลใต้ผิวดินในแนวดิ่ง ต้นธูปฤาษี ต้นกกกลม ชั้นกรอง en_US
dc.title การศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบึงประดิษฐ์แบบการไหลใต้ผิวดินในแนวดิ่งโดยใช้ชั้นกรองร่วมกับต้นธูปฤาษี และต้นกกกลม en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics