ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการอนุรักษ์อุโบสถพื้นถิ่น ในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ประจญศานต์, สมบัติ
dc.contributor.author ประจญศานต์, สมบัติ
dc.date.accessioned 2021-10-04T07:43:17Z
dc.date.available 2021-10-04T07:43:17Z
dc.date.issued 2549-12-15
dc.identifier.citation รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สภาพการอนุรักษ์อุโบสถพื้นถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ 2549 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7902
dc.description.abstract การศึกษาสภาพการอนุรักษ์อุโบสถพื้นถิ่น ในจังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการอนุรักษ์อุโบสถพื้นถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ที่สำคัญในอำเภอ เมือง ห้วยราช สตึก นางรอง ประโคนชัย ประคำ จำนวน 13 อาคาร พบว่า อุโบสถส่วนใหญ่มีอายุของอาคารตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป โดยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ เป็นอุโบสถพื้นบ้านชั้นเดียว ส่วนใหญ่เป็นอุโบสถทึบ มีผังพื้น 5 ลักษณะ ได้แก่ แบบทรงโรง แบบทรงโรงมีเสาร่วมใน แบบทรงโรงมีเสาร่วมในและระเบียง แบบทรงโรงมีเสาร่วมในและลานประทักษิณ รวมถึงแบบมีมุขหน้า มุขหลังและลานประทักษิณ โดยจะพบขนาด 5 ห้อง เป็นส่วนมาก นิยมยกพื้นอาคารสูงกว่าระดับดิน รูปทรงของหลังคามีความสัมพันธ์กับผังพื้นและขนาดของอาคารแต่ละหลังมีทั้งหลังคาทรงจั่วเปิด ทรงจั่วปิดมีปีกนก ทรงจั่วมีมุขประเจิด ทรงจั่วปิดมีปีกนก กันสาด และหลังคาคลุมระเบียง จากการศึกษาสามารถจำแนกสภาพของอุโบสถออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มหนึ่งมีสภาพทรุดโทรมมาก รอวันเสื่อมสภาพโดยผู้ดูแลรักษาหรือชุมชนเห็นว่าอุโบสถมีขนาดเล็กไม่พอเพียงต่อการใช้สอย จึงสร้างอุโบสถหลังใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะเป็นแบบอุโบสถภาคกลางที่ไม่ได้รักษาเอกลักษณ์ภูมิปัญญาอีสานดั้งเดิมของบรรพบุรุษ อีกกลุ่มสภาพอาคารชำรุดบางส่วน บางหลังยังไม่มีการซ่อมแซม แต่ก็ยังใช้ประกอบสังฆกรรม บางวัดเมื่อมีทุนทรัพย์ก็จะสร้างอุโบสถหลังใหม่เช่นเดียวกับกลุ่มแรก หากมีทุนทรัพย์เหลือจากการสร้างอุโบสถหลังใหม่ก็นำมาซ่อมแซมอุโบสถหลังเก่าด้วยช่างท้องถิ่น หรือผู้รับเหมาท้องถิ่นที่ขาดหลักวิชาการอนุรักษ์ บางหลังที่มีผู้นำในการอนุรักษ์เป็นผู้นำทางสังคมหรือการเมือง จะอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจากกรมศิลปากรมาให้คำปรึกษาในการอนุรักษ์โดยทุกชุมชนล้วนประเมินคุณค่าอาคารว่ามีคุณค่าทางสังคม มีแรงจูงใจในการอนุรักษ์เพื่อพิทักษ์มรดกทางสังคม และเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ชนรุ่นหลังได้รู้จักและเกิดความภาคภูมิใจ ข้อเสนอแนะ ควรให้นายช่างหรือช่างที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มีโอกาสถ่ายทอดและให้นักวิชาการสกัดภูมิปัญญาเชิงสถาปัตยกรรมวิศวกรรมจากอาคารพื้นถิ่นสู่ความรู้สากลที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นแบบเรียนหรือหลักสูตรการอบรม นำเสนอแก่คนทุกกลุ่มในสังคม และกระตุ้นชุมชนให้เข้ามาร่วมเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์ที่ชัดเจน ซึ่งคำนึงถึงวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อจะได้ตระหนักถึงคุณค่าของอาคาร อันนำมาสู่การร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผนการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากอาคารร่วมกันต่อไปจนกลายเป็นการจัดตั้งองค์กรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ขยายผลสู่การออกกฎข้อบังคับหรือมาตรการพิทักษ์รักษาที่ส่งผลต่อความสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมชุมชน en_US
dc.description.sponsorship ฺBuriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries สภาพการอนุรักษ์อุโบสถพื้นถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์;024/2549/2
dc.relation.ispartofseries สภาพการอนุรักษ์อุโบสถพื้นถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์;024/2549/2
dc.title สภาพการอนุรักษ์อุโบสถพื้นถิ่น ในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Conservation of Northeast Buddhist holy temples in BURIRAM Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics