ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการส่งเสริมและพัฒนางานไม้ดัดของชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author โสภิตา, ศรีสุพรรณ
dc.contributor.author รินทร์หทัย, กิตติ์ธนารุจน์
dc.date.accessioned 2021-09-13T03:49:53Z
dc.date.available 2021-09-13T03:49:53Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7823
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์งานไม้ดัดของชุมชนสายยาว 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเลือกซื้องานไม้ดัดของชุมชนสายยาว 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้องานไม้ดัดของชุมชนสายยาว 4) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนางานไม้ดัดของชุมชน สายยาวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักท่องเที่ยวที่มาซื้อหรือเคยซื้องานไม้ดัดและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจงานไม้ดัดรวมจำนวน 415 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ไคสแควร์ (Chi-Square) การวิเคราะห์ปัจจัยและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิเคราะห์พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก โดยในการซื้อไม้ดัดจะซื้อเฉลี่ยปีละประมาณ 2 ครั้ง จำนวนเงินในการซื้อไม้ดัดเฉลี่ยปีละ 4,624 บาท และมีปริมาณการซื้อแต่ละครั้งจำนวน 4 ต้น เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กับโอกาสที่เลือกซื้องานไม้ดัด โดยจากการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจจะได้ปัจจัยที่มีองค์ประกอบร่วมกัน 7 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยส่งเสริมทางการตลาด ปัจจัยช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยการผลิตสินค้า ปัจจัยด้านการออกแบบ และปัจจัยด้านบริการ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 62.745 และเมื่อนำปัจจัยทั้ง 7 ปัจจัยไปหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนเงินในการซื้องานไม้ดัดพบว่า ปัจจัยด้านบริการ สามารถทำนายแนวโน้มจำนวนเงินในการซื้อไม้ดัดได้ร้อยละ 0.16 และสามารถนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรทำนายมาเขียนเป็นสมการทำนายแนวโน้ม โดยใช้คะแนนดิบได้ดังนี้ จำนวนในการซื้อไม้ดัด = 4677.582 + 801.496(ปัจจัยด้านบริการ) en_US
dc.description.abstract This research is survey research with the objective 1) To study the satisfaction of tourists in the bonsai products of the Sai Yao community 2) to study the behavior of tourists in buying bonsai of Sai Yao community 3) To study the reasons that have an effect on the purchase of bonsai of Sai Yao community 4) to find ways to promote and develop bonsai of the Sai Yao community for consumer demand The instrument used in the research was a Purposive samplin questionnaire from tourists who bought or used to buy bonsai and members of a group of bonsai enterprises with a total of 415 people. The analysis shows that tourists are satisfied with the products , prices , distribution channels. And promoting marketing at a high level. The average bonsai purchase is approximately 2 times per year. The amount of bonsai purchases is 4,624 baht per year and the number of each purchase is 4 trees. When analyzed, it shows that the distribution channel factors affect Opportunities for buying a bonsai 7 factors include product, marketing promotion, marketing, production, product design and service. 62.745 percent of the variance can be explained when taking Both 7 factors to find the factors that affect the amount. When buying a bonsai, it was found that the service factor can predict the amount of buying a bonsai by 0.16 percent and the coefficient of the forecasting variable can be written as a forecasting equation using the raw score as follows: Number of buying bonsai = 4677.582 + 801.496 (service factor) en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title แนวทางการส่งเสริมและพัฒนางานไม้ดัดของชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Thesis en_US
dc.contributor.emailauthor rinhatai.kn@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics