ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในการผลิตข้าวหลาม ร่วมกับขี้เลื่อย

Show simple item record

dc.contributor.author จีระมะกร, ธีรารัตน์
dc.date.accessioned 2021-03-19T09:26:56Z
dc.date.available 2021-03-19T09:26:56Z
dc.date.issued 2020-11-29
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7451
dc.description.abstract หัวข้องานวิจัย : การผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในการผลิตข้าวหลาม ร่วมกับขี้เลื่อยจากอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ผู้วิจัย : อาจารย์ ดร.ธีรารัตน์ จีระมะกร, จิตราวดี ดีนิยม และศราวดี สาแก้ว สาขาวิชา : วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา : 2563 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในการผลิตข้าวหลามร่วมกับขี้เลื่อยจากอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในการผลิตข้าวหลามร่วมกับขี้เลื่อยจากอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์และศึกษาคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในการผลิตข้าวหลามร่วมกับขี้จากอำเภอ ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ สี กลิ่น ศึกษาคุณสมบัติเชิงกล ได้แก่ การขึ้นรูป การคงรูป ความหนาแน่น และดัชนีการแตกร่วน ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง ได้แก่ ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า ค่าความร้อน ประสิทธิภาพการให้ความร้อน ระยะเวลาในการจุดติดไฟ และระยะเวลาในการมอดดับ และทดสอบการใช้งานเมื่อติดไฟ ใช้วัตถุดิบระหว่าง เศษไม้ไผ่ และกะลามะพร้าว : ขี้เลื่อย โดยใช้กาวแป้งเปียกเป็นตัวประสานปริมาตร 40 มิลลิลิตร อัดแท่งด้วยเครื่องอัดแบบใช้แรงมือ จำนวน 4 ชุดการทดลอง ในอัตราส่วน T1 (4:1), T2 (3:2), T3 (2:3) และT4 (1:4) ตามลำดับ ผลการทดลอง พบว่า ถ่านอัดแท่งสามารถขึ้นรูป และสามารถคงรูปได้จำนวน 3 ชุดการทดลอง ได้แก่ อัตราส่วน T1 (4:1), T2 (3:2) และT3 (2:3) จากนั้นนำทั้ง 3 ชุดการทดลองไปทดสอบคุณสมบัติเชิงกล และคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง ซึ่งชุดการทดลองที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำมาเป็น ถ่านอัดแท่ง คือ ชุดการทดลอง T1 เนื่องจากเป็นรูปทรงกระบอก สีดำสม่ำเสมอ ไม่มีกลิ่น สามารถขึ้นรูป และคงรูปได้ มีค่าความหนาแน่นมากที่สุดเท่ากับ 0.7275 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มีค่าดัชนี การแตกร่วนเท่ากับ 0.9906 มีปริมาณความชื้นเท่ากับ 0.2321 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณเถ้าใกล้เคียงเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านไม้หุงต้ม (มผช.657/2547) เท่ากับ 8.4319 เปอร์เซ็นต์ มีค่าความร้อนสูงที่สุดเท่ากับ 6,250.74 แคลอรี/กรัม มีประสิทธิภาพการให้ความร้อนเท่ากับ 84 องศาเซลเซียส ที่เวลา 36 นาที มีการไต่ระดับความร้อนสม่ำเสมอไม่ตกระดับ มีระยะเวลาในการจุดติดไฟที่ 3 นาที และระยะเวลาในการมอดดับที่ 163 นาที เมื่อจุดติดไฟไม่มีสะเก็ดไฟ ไม่มีควัน และไม่มีกลิ่นตลอดระยะเวลาในการทดสอบ และเมื่อทำการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง (มผช.238/2547) พบว่า ค่าความร้อนสูงกว่า 5,000 แคลอรี/กรัม ดัชนีการแตกร่วนมี ค่าเข้าใกล้ 1 ปริมาณความชื้นต่ำกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณเถ้าใกล้เคียง 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือนได้ คำสำคัญ : ถ่านอัดแท่ง เศษไม้ไผ่ กะลามะพร้าว ขี้เลื่อย en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ถ่านอัดแท่ง เศษไม้ไผ่ กะลามะพร้าว ขี้เลื่อย en_US
dc.title การผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในการผลิตข้าวหลาม ร่วมกับขี้เลื่อย en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor teerarat.ch@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics