ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ไวรัสโควิดไนน์ทีน ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐวุฒิ ทะนันไธสง
dc.date.accessioned 2020-09-16T02:09:00Z
dc.date.available 2020-09-16T02:09:00Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7080
dc.description.abstract โลกได้รับรู้เรื่องโรคระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ปริศนา หลังจากสาธารณรัฐประชาชนจีนยืนยันเมื่อ 31 ธันวาคม 2019 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ในเวลาต่อมาสาธารณรัฐประชาชนจีนและองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ เชื้อไวรัสโคโรนา ก่อนหน้านี้ พบไวรัสโคโรนามาแล้ว 6 สายพันธุ์ ที่เคยเกิดการระบาดในมนุษย์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ไวรัสในตระกูลนี้มาแล้ว จากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรงหรือโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) โดยพบการระบาดครั้งแรกปลายปี 2002 เริ่มจากพื้นที่มณฑลกวางตุ้งของจีน ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในหลายประเทศ จนมีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน และคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 800 คนทั่วโลก องค์การอนามัยโลก เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า โควิดไนน์ทีน (Covid-19) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น การระบาดใหญ่ หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของโลก (บีบีซี, 2563) ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ปัจจุบันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดไปแล้วใน 203 ประเทศและดินแดนทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่า 826,250 คน ทั้งได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 40,712 คน (Johns Hopkins University, 2020) สถานการณ์โควิดไนน์ทีนในประเทศไทย จากรายงานสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด ไนน์ทีน ของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน วันที่ 1 มีนาคม 2563 มีการพบผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังโรครายใหม่ 134 ราย และในวันที่ 24 มีนาคม 2563 สำนักงานนายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดไนน์ทีนแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วและไทยได้รับผลกระทบ รัฐบาลไทยจึงได้ใช้มาตรการป้องกัน สกัดกั้น ชะลอการแพร่ระบาดของโรค (ราชกิจจานุเบกษา, 2563) ในสถานการณ์ล่าสุด 31 มีนาคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโควิดไนน์ทีน จำนวน 1,651 ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 416 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต 10 ราย ผู้ติดเชื้อทั้งหมดมีสัญชาติไทย 1,407 ราย สัญชาติอื่น ๆ 244 ราย จำนวนผู้ป่วยจำแนกตามพื้นที่ กรุงเทพฯ-นนทบุรี 869 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 77 ราย ภาคเหนือ 55 ราย ภาคกลาง 172 ราย ภาคใต้ 206 ราย (กรมควบคุมโรค, 2563) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้ในการศึกษาการระบาดในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดไนน์ทีน มาวิเคราะห์เชิงพื้นที่พิจารณาถึงปัจจัยตั้งและเวลาพร้อมกัน แสดงสถานการณ์การเกิดโรคระบาดเชิงพื้นที่ ระบุพื้นที่ที่มีการกลุ่มผู้ป่วยหรือโรคระบาด ประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรค ทำให้สามารถทราบถึงการกระจายเชิงพื้นที่ของอุบัติการณ์สะสมไวรัสโควิดไนน์ทีน มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการบริหาร วางแผนด้านทรัพยากรและมาตรการในการดำเนินป้องกันควบคุมโรคระบาดและนโยบายทางสังคมของปะเทศไทย en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject Spatiotemporal analysis of Covid-19 in Thailand en_US
dc.title การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ไวรัสโควิดไนน์ทีน ในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Spatiotemporal analysis of Covid-19 in Thailand en_US
dc.title.alternative Spatiotemporal analysis of Covid-19 in Thailand en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor natthawut.ta@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics