ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ จากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น

Show simple item record

dc.contributor.author อาทิตยา, ใคร่นุ่น
dc.contributor.author ณิชกานต์, ทับประโคน
dc.contributor.author ผจงจิต, เหมพนม
dc.date.accessioned 2020-09-14T05:30:48Z
dc.date.available 2020-09-14T05:30:48Z
dc.date.issued 2563-09-14
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7019
dc.description สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งทอ วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2562 en_US
dc.description.abstract หัวข้อโครงงาน : การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น ผู้วิจัย : นางสาวณิชกานต์ ทับประโคน และนางสาวอาทิตยา ใคร่นุ่น คณะ : วิทยาศาสตร์ สาขาวิชา : วิทยาศาสตร์สิ่งทอ ปีการศึกษา : 2562 อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ผจงจิต เหมพนม บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามัดย้อมเสื้อยืดผ้าฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น ด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ การมัด การพับ การม้วน และการขยำ และศึกษาความพึงพอใจของเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น ด้านความเหมาะสมของลวดลายและสี มีการวางลวดลายที่เหมาะสม ลวดลายมีความทันสมัยและใช้งานได้จริง และสรุปความพึงพอใจโดยรวม กลุ่มตัวอย่าง วิธีการใช้แบบสุ่ม ของกลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ และผลิตภัณฑ์การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น จำนวน 12 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1) ใช้เทคนิคการม้วน แบบที่ 2) ใช้เทคนิคการมัดและการขยำ แบบที่ 3) ใช้เทคนิคการมัด การพับ และการขยำ แบบที่ 4, 5) ใช้เทคนิคการมัด แบบที่ 6) ใช้เทคนิคการม้วน แบบที่ 7) ใช้เทคนิคการมัด แบบที่ 8) ใช้เทคนิคการมัดและการขยำ แบบที่ 9, 10, 11 และ 12) ใช้เทคนิคมัด โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) จากการประเมินความพึงพอใจโดยรวมต่อการผลิตภัณฑ์การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น พบว่าผลิตภัณฑ์การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แบบที่ 6 มีความเหมาะสมของลวดลายและสี คะแนนความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.54 อยู่ในระดับ ดีมาก และ แบบที่ 8 มีความความเหมาะสมของลวดลายและสี คะแนนความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 อยู่ในระดับ ดีมาก ส่วนแบบที่มีค่าเฉลี่ยมากเป็นอันดับสอง คือ แบบที่ 12 มีการวางลวดลายที่เหมาะสม คะแนนความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.51 อยู่ในระดับ ดีมาก ส่วนผลิตภัณฑ์แบบที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือแบบที่ 4 มีการวางลวดลายที่ไม่เหมาะสม คะแนนความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.28 en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การออกแบบ เสื้อมัดย้อม สีธรรมชาติ en_US
dc.title การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ จากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งทอ en_US
dc.degree.level ปริญญาตรี en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรบัณฑิต en_US
dc.contributor.emailauthor phajongjit.hp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics