ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Show simple item record

dc.contributor.author Rakarnsin, Supatra
dc.contributor.author Butsalee, Pakamat
dc.contributor.author Sawaengwarot, Em-on
dc.contributor.author Utiram, Kaewmanee
dc.contributor.author ketsripongsa, udompong
dc.contributor.author Mathuramaytha, Anya
dc.date.accessioned 2020-05-23T03:34:33Z
dc.date.available 2020-05-23T03:34:33Z
dc.date.issued 2020-04-30
dc.identifier.citation มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (2020): (มกราคม - เมษายน) 2563. en_US
dc.identifier.issn 26730243
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6241
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาในการบริหารจัดการของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย และแนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์ชัย โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์ชัย จำนวน 30 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย พบว่า บ้านโพธิ์ชัยมีการประกอบอาชีพหลักคือ ทำนา สำหรับอัตราค่าจ้างแรงงานในหมู่บ้านวันละ 150 - 200 บาท และมีรายได้เฉลี่ย 46,220 บาท/คน/ปี สำหรับกลุ่มอาชีพและกลุ่มอื่น ๆ ในการพัฒนาตนเองที่มีในชุมชน มีทั้งสิ้นจำนวน 13 กลุ่ม 2) สภาพปัจจุบันปัญหาในการบริหารจัดการของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย สำหรับปัญหาในการบริหารจัดการกลุ่ม แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 2.1) ด้านการบริหารงาน สรุปได้ว่าในการดำเนินการของกลุ่มมีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบของคณะกรรมการ แต่ยังไม่มีการกำหนดกฎ ระเบียบ และกติกาในการดำเนินงานร่วมกัน และ 2.2) ด้านการเงิน สรุปได้ว่า กลุ่มมีการนำเงินส่วนที่เป็นเงินออมปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิกกลุ่ม แต่ปัญหาที่พบคือ สมาชิกกลุ่มไม่สามารถนำเงินมาคืนให้กับกลุ่มได้ ส่งผลให้กลุ่มไม่มีเงินหมุนเวียนในการดำเนินงานต่อต้องหยุดไปเป็นบางเวลา และ 3) แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย โดยสมาชิกกลุ่มได้มีค้นหาแนวทางการบริหารจัดการของกลุ่ม ทำให้การดำเนินงานมีแนวปฏิบัติ 9 ประเด็น ที่ทำให้ทางกลุ่มมีความสำเร็จในการดำเนินงาน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject แนวทางการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืน en_US
dc.subject Management Approaches, Participation, Community Economy Development, Sustainability en_US
dc.title แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม en_US
dc.title.alternative Participatory Management Approaches for Sustainable Community Economy Development of Baan Pho Chai Mushroom Growing Group, Pho Chai Sub-district, Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor Supatruk@mail.com en_US
dc.contributor.emailauthor mon-noi@hotmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor em_on.acc@hotmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor Kaewmanee_acc20@hotmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor udompong.jo@gmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor unya8888@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics