ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา Facebook

Show simple item record

dc.contributor.author พิมูล, นงนุช
dc.contributor.author บุญเกตุ, กิตติคุณ
dc.date.accessioned 2020-03-23T03:22:42Z
dc.date.available 2020-03-23T03:22:42Z
dc.date.issued 2562-09-05
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6054
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา Facebook ศึกษาระดับทัศนคติในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา Facebook และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา Facebook กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนทั้งหมด 400 ตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 16-20 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา มีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่ติดต่อกับบุคคลที่รู้จัก ส่วนใหญ่เข้าใช้บริการที่บ้าน ใช้งาน Facebook ทุกวัน มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน เข้าใช้เวลา 18.01 – 23.00 น. ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ และมีเพื่อนใน Facebook 2,000 คนขึ้นไป ใช้งานมากกว่า 4 ปีขึ้นไป เพิ่มเพื่อนที่รู้จักกันอยู่แล้วในชีวิตจริง (เรียน/ทำงาน/ครอบครัว) ตอบรับเฉพาะเพื่อนที่รู้จักในชีวิตจริง หรือที่คุ้นเคยอยู่แล้ว เพศไม่มีผลใด ๆ ในการยอมรับเป็นเพื่อน ทัศนคติในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา Facebook มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 en_US
dc.description.abstract In this research is a survey research. The objective was to the study of online social networking behavior of people in Buriram Province: A case study of Facebook. Study attitude levels in the online social networking behavior of people in Buriram Province: A case study of Facebook and study the relationship between attitudes and behavior of the online social networking behavior of people in Buriram Province: A case study of Facebook. The sample used in this research is that people in Buriram Province, a total of 400 samples. Using stratified random sampling. The questionnaire was used to collect data to analyze the relationship of the statistical test Chi Square. The research found that Most respondents were female between 16-20 years of undergraduate education, single, most professional/student. The use of social networking behavior. Most contact with persons unknown. Most services that use Facebook every day for more than 5 hours per day at 18:01 to 23:00 hrs. The majority of mobile phone users. And a friend on Facebook 2,000 people over more than four years to add friends who already know each other in real life. (Learn / work / family) accept only known friends in real life. Or already familiar gender has no effect on the acceptance as a friend. The attitude in the use of online social networks are important at the high level. The study of the relationship between attitudes in the use of online social networks. And the use of online social networking behavior of people in Buriram Province: A case study of Facebook. is associated with a significant level of 0.05 . en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject Online Social Networking Behavior en_US
dc.title การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา Facebook en_US
dc.title.alternative The Study of Online Social Networking Behavior of People in Buriram Province, A Case Study of Facebook en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor kittikoon.bk@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics