ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบูรณาการภูมิปัญญาการย้อมผ้าภูอัคนีร่วมกับสีผงดอกบัวสัตตบงกชเพื่อเพิ่ม ความหลากหลายสีสันของผ้าภูอัคนี ณ หมู่บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ชุลีกานต์ สายเนตร
dc.date.accessioned 2019-09-11T09:46:46Z
dc.date.available 2019-09-11T09:46:46Z
dc.date.issued 2561-07-20
dc.identifier.citation RNSC2018 การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 29-31 สิงหาคม 2561 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5664
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้สีย้อมธรรมชาติจากกลีบดอกบัวหลวงสัตตบงกชโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายร่วมกับการย้อมผ้าภูอัคนี โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบแร่ธาตุในดินภูเขาไฟที่ใช้ย้อมเส้นฝ้ายและเส้นไหมที่ใช้ทอผ้าภูอัคนี (2) เพื่อประยุกต์ใช้สารสกัดและสีผงจากกลีบดอกบัวหลวงสัตตบงกชในการย้อมผ้าภูอัคนีร่วมกับการใช้สารช่วยติดสีชนิดต่างๆ 3 ชนิด จากผลการทดลององค์ประกอบของแร่ธาตุในตัวอย่างดินภูเขาไฟ ด้วยเครื่อง EDXRF พบปริมาณธาตุเหล็ก (Fe) สูงที่สุดเท่ากับ 43.61 %w/w เมื่อนำดินภูเขาไฟมาย้อมเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายร่วมกับการใช้น้ำเปลือกประดู่ที่มีสารแทนนิน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารช่วยให้ติดสีจะทำให้ผ้าภูอัคนีมีสีที่เข้มและติดทนนานยิ่งขึ้น จากนั้นจึงศึกษาการย้อมเส้นฝ้ายและเส้นไหมที่ใช้ทอผ้าภูอัคนีร่วมกับการใช้สารช่วยติดสีชนิดต่างๆ 3 ชนิด ดังนี้คือ จุนสี สารส้มและน้ำขี้เถ้า พบว่าเส้นฝ้ายให้สีที่เด่นชัดเมื่อใช้สารช่วยติดสี 2 ชนิดนั่นคือจุนสีและสารส้ม ส่วนเส้นไหมให้สีที่เด่นชัดเมื่อใช้สารช่วยติดสีทั้ง 3 ชนิด นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษาความคงทนต่อการซักและความคงทนของสีต่อแสงของเส้นไหมและเส้นฝ้ายที่ผ่านการย้อมแล้วนั้น พบว่าทั้งเส้นฝ้ายและเส้นไหมมีความคงทนของสีต่อแสงในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบความคงทนของสีต่อแสงของเส้นฝ้ายและเส้นไหมด้วยข้อมูลทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่างานวิจัยนี้เป็นการลด การใช้สารเคมีที่เป็นพิษและเป็นการใช้สารเคมีจากธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับหลักการเคมีสีเขียว en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ดินภูเขาไฟ สีผงจากกลีบดอกบัวสัตตบงกช สารเคมีจากธรรมชาติ แทนนิน สีย้อมธรรมชาติ Volcanic Soil, Dye powder from petal lotus, Natural reagent, Tannin, Natural Dye en_US
dc.title การบูรณาการภูมิปัญญาการย้อมผ้าภูอัคนีร่วมกับสีผงดอกบัวสัตตบงกชเพื่อเพิ่ม ความหลากหลายสีสันของผ้าภูอัคนี ณ หมู่บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative An Integration of Wisdom in Fabric Phu Ak-nee Dye with Dye Powder from Lotus (Nelumbo nucifera Gaertn.) to Increase Variety of Colors Fabric Phu Ak-nee in Charoensook Village, Chaloemprakiat Distric, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor tnakeeluch.s@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics