ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชุมชนโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านตราดตวน ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ปะติตังโข, กิ่งแก้ว
dc.date.accessioned 2019-09-10T12:11:18Z
dc.date.available 2019-09-10T12:11:18Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5585
dc.description.abstract การวิจัยเชิงปฎิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน 2) ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน และ 3) ศึกษารูปแบบการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน กลุ่มตัวอย่าง จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ตัวแทนประชาชน ผู้มีรายได้น้อยจำนวน 180 คน และกลุ่มผู้นำชุมชนบ้านตราดตวน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ข้อมูลที่ได้จากข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1. ประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่รับรู้องค์ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากผู้นำในชุมชน และเพื่อนบ้าน โดยความรู้ต่อแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับเรื่องความอดทนและความเพียร และมีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการลดรายจ่าย การประหยัดอดออม และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวม โดยเริ่มปฏิบัติจากตัวเอง และครอบครัว 2. แนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน 2.1 แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการดำเนินชีวิต : โดยการลดการใช้-จ่ายในครัวเรือน ลดปริมาณการซื้อจากภายนอกและทำการผลิตใช้ในครัวเรือนด้วยตนเอง ซึ่งองค์ประกอบของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้วยหลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านคุณธรรม 2.2 แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการประกอบอาชีพ : บางครัวเรือนมีองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน อีกทั้งในชุมชนมีวัตถุดิบสำหรับนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์บางชนิดสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปจำหน่าย เพื่อการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน เช่น ผักตบชวา ซังข้าวโพด นำมาเป็นวัตถุดิบในการเพาะเห็ด มะนาว นำมาเป็นส่วนผสมของน้ำยาล้างจาน ผักสวนครัว นำมาเป็นส่วนประกอบใน การทำอาหาร และจำหน่าย แต่อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ของชาวบ้านที่นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและไม่ได้มาตรฐาน ต้องอาศัยองค์ความรู้ วิธีการจากบุคคล/หน่วยงานภายนอกชุมชน เช่น นักวิชาการการเกษตร พัฒนาชุมชน สถาบันการศึกษา เป็นต้น 3. รูปแบบ (Model) การแก้ปัญหาความยากจนที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการขยายผลในพื้นที่ชุมชนบ้านตราดตวน จะต้องเริ่มจากการให้ความสำคัญที่ต้องให้คนในชุมชนเข้าใจถึงทุนทางสังคมของชุมชนตนเองอันประกอบด้วย ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนรับรู้ถึงจุดเด่นและจุดด้อยของชุมชนตนเอง และจัดเก็บเป็นข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ในชุมชนตนเองซึ่งสามารถพัฒนาไปถึงระดับศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนที่จะถ่ายทอดให้กับบุคคลทั้งจากภายในชุมชนและภายนอกชุมชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีศักยภาพได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ตัวแทนชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ อย่างยั่งยืนได้ en_US
dc.description.sponsorship BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชุมชนโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านตราดตวน ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชุมชนโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านตราดตวน ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A participatory study with community in order to solve the poverty problems using the theory of sufficiency economic theory : a case study of Tradtoun Village, Tambon Choomhet, Amphure Muang in Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor Kingkaew.pt@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics