ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรผ่านระบบ คิวอาร์โค้ด ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author วันดี, พิชิต
dc.contributor.author บุษบง, สกรณ์
dc.contributor.author ดวงคำ, เสกสิทธิ์
dc.date.accessioned 2019-09-10T07:16:31Z
dc.date.available 2019-09-10T07:16:31Z
dc.date.issued 2019-09-01
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5558
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพนิเวศ ปัญหาในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง3)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัด การขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง โดยใช้วิธีการดำเนินการตามหลักวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการขยะผ่านระบบคิวอาร์โค้ด 2) ประเด็นสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้งานแอพพลิเคชั่นบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะชุมชนติดเมืองและเป็นเส้นทางผ่านของการจราจร ทำให้เกิดมลภาวะจากขยะมูลฝอยทั้งในชุมชน และจากการสัญจรของประชาชนทั่วไป โดยชุมชนมีการจัดการขยะด้วยการใช้หลักการ 3 R ได้แก่ การปฏิเสธการงดใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ยากต่อการทำลายเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (Reject) การใช้วัสดุธรรมชาติแทนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุอาหารสำหรับการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันเพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะตามมา (Reduce) การนำเศษวัสดุของเหลือใช้มาปรับปรุงเพื่อการใช้งานใหม่อีกรอบ (Recycle) โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชน 2) แอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการขยะประกอบด้วยส่วนของการสแกนคิวอาร์โค้ดประเภทของขยะ เพื่อคำนวณเก็บสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล และส่วนของเว็บไซต์การจัดการข้อมูลสารสนเทศการบริหารจัดการขยะ ได้แก่ การจัดการข้อมูลภาพกิจกรรม แผนที่พิกัดของสมาชิก และข่าวสารประชาสัมพันธ์ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่น เพื่อการบริหารจัดการขยะผ่านระบบคิวอาร์โค้ด พบว่ามีประสิทธิภาพ โดยรวมคุณภาพอยู่ในระดับมาก (x= 4.46) คุณภาพของเว็บไซต์ระบบจัดการขยะอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.53) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อแอพพลิเคชั่น พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x= 4.49) การประยุกต์ใช้งานแอพพลิเคชั่นในการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร ทำให้ผู้ใช้งานสามารถลดขั้นตอนในการจัดการขยะในครัวเรือนได้สะดวกยิ่งขึ้นสร้างเจตคติที่ดีในการนำขยะมาสร้างมูลค่าผ่านการทำงานของกลุ่มในชุมชน en_US
dc.description.abstract Research has been aimed at 1) to analyze the ecological environment. Problems in the management of Ban Yang Sub district Administration Organization 2) to design and develop applications for the garbage management of the ban Yang Sub district Administration organization. 3) to study the performance of the application for the waste management of the ban Yang Sub district Administration organization using the system development Life cycle method. SDLC) The target audience used to research 400 people. The instruments used in research include 1). The application for waste complete management via qr-code 2) in-depth interview 3) performance evaluation, integrated waste management application, and 4) application user satisfaction questionnaire. The findings found that 1) Ban Yang Sub district Administration organization Muang Buriram Province The city is characterized by the political community and is the route through of traffic. It causes pollution from garbage in the community, and from public traffic to the community, with the use of the 3-R principle: refusal or refrain from any product or product that is difficult to break into environmental pollution. (Reject) use of natural materials instead of packaging that is used for daily consumer food to reduce the amount of waste to follow. (Reduce) Use of waste material to be adjusted for new applications. (Recycle) Relying on the participation of the villagers in the community 2) The garbage management application consists of a scanning section of the garbage-type QR code to calculate collecting points to redeem rewards and parts of the information management website. Member's coordinates map and press releases 3) the results of the application evaluation in waste management via qr-code level showed that the overall efficiency is high (x= 4.46). Quality of waste management web site was at the highest level (x= 4.53) User satisfaction per application. Found to be as satisfying as possible. (x= 4.49) application of integrated waste management applications. This makes it easier for users to reduce the process of household waste management. Create a good attitude to bring the garbage, create value through the work of community groups. en_US
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries เลขที่สัญญาทุน 14/2562;
dc.subject แอพพลิเคชั่น, คิวอาร์โค้ด, การจัดการขยะ Application, Waste management, QR code. en_US
dc.title การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรผ่านระบบ คิวอาร์โค้ด ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The development application for waste complete management via qr-code off Banyang sub-district administration, Muang district, Buriram province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor pichit.wd@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics