ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้านประวัติศาสตร์ชุมชนด้วยภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเขาพัฒนา ตําบลโคกมะม่วง อําเภอปะคํา จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author โสมอินทร์, สมยงค์
dc.contributor.author บุญตรี, จันทร์สุดา
dc.contributor.author วัชเรนทร์วงศ์, ภูริสา
dc.date.accessioned 2019-09-09T15:21:17Z
dc.date.available 2019-09-09T15:21:17Z
dc.date.issued 2019
dc.identifier.citation มนุษยสังคมสาร (มสส.) ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) 2562 en_US
dc.identifier.isbn 2673-0243
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5525
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเขาพัฒนา ตําบลโคกมะม่วง อําเภอปะคํา จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ด้วยภาษาอังกฤษสําหรับประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกเขา และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องภาษาอังกฤษสําหรับประวัติศาสตร์ชุมชน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยสมาชิกในชุมชนบ้านโคกเขา ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเขาพัฒนา และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครนักวิจัยชุมชน จํานวน 10 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน 40 คน ผู้นําชุมชน ผู้อาวุโส และ สมาชิกในชุมชน ผู้รู้ประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นอย่างดี จํานวน 40 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ใช้วิธีการ เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านความสําคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า ภาษาอังกฤษมีความสําคัญต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนอยู่ระดับมาก และทักษะที่มีความสําคัญที่สุดคือทักษะการพูด รองลงมาคือทักษะการฟัง อยู่ระดับมากเช่นกัน 2. ด้านปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า ปัญหาที่สําคัญที่สุด คือ การไม่รู้คําศัพท์ อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาไม่สามารถนําคําศัพท์ที่เคยเรียนรู้มาแล้วมาใช้ได้ อยู่ระดับมาก และปัญหาไม่ทราบไวยากรณ์ อยู่ระดับมากเช่นเดียวกัน 3. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างมีดังต่อไปนี้ 1) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับปานกลาง มีคะแนนอยู่ระหว่าง 21 -30 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 42.5 2) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับอ่อน มีคะแนนอยู่ระหว่าง 11-20 คิดเป็นร้อยละ 37.5 และ 3) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับเก่ง มีคะแนนอยู่ระหว่าง 31-40 คน คิดเป็นร้อยละ 20.0 4. ผลการวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชน และสามารถใช้ในชีวิตประจําวันได้ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ หลักสูตรที่มีเนื้อหาทั่วๆไป ซึ่งได้จากอินเตอร์เน็ต และมีเนื้อหาไม่ยากเกินไปสําหรับผู้เรียน อยู่ระดับมากเช่นเดียวกัน 5. ด้านความพึงพอใจต่อหลักสูตร พบว่าโดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปเล่มของหลักสูตรท้องถิ่นระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่าภาพประกอบสื่อความหมายตรงกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียนมากที่สุด en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนา, หลักสูตรท้องถิ่น, ประวัติศาสตร์ชุมชน en_US
dc.title การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้านประวัติศาสตร์ชุมชนด้วยภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเขาพัฒนา ตําบลโคกมะม่วง อําเภอปะคํา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Development of Local Curriculum on Community History in English: A Case Study of B an Khok khao Pattana Community,Khokmamuang Sub-district, Pakham District, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor bhumi_dog@hotmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics