ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ศึกษาและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสู่สากล:กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author บุญตรี, จันทร์สุดา
dc.date.accessioned 2019-09-09T14:57:06Z
dc.date.available 2019-09-09T14:57:06Z
dc.date.issued 2018
dc.identifier.citation รมยสาร ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) 2561 en_US
dc.identifier.isbn 16860101
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5524
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากร สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสื่อสาร ภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วมสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนที่พัฒนาขึ้น ประชากรคือ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 359 คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 120 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบประเมินนวัตกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ต้องการนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เป็นหนังสือเล่มเล็กอยู่ใน ระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.59 และตามด้วยซีดีเสียงอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ด้วยค่าเฉลี่ย 4.54 และวีดิโอเทป อยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย3.82 ตามลำดับ 2) กลุ่มตัวอย่างต้องการภาษาอังกฤษตามหน้าที่การงานและความรับผิดชอบของแต่ละคน เช่น การขอความช่วยเหลือ การโทรศัพท์ และการกล่าวขอบคุณและการกล่าวลา เป็นต้น 3) ด้านการประเมินนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญประเมินนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยภาพรวม อยู้ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.34 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.38 ตามด้วยด้านซีดีเสียงภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.34 และด้านรูปเล่มอยู่ในระดับมากเช่นกัน ด้วยค่าเฉลี่ย 4.25 ตามลำดับ 4) ด้านความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษบุคลากรสายสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านรูปเล่ม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.62 ตามด้วยด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ด้วยค่าเฉลี่ย 4.53 และด้านซีดีเสียงภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.44 ตามลำดับ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบนวัตกรรม, การสื่อสารภาษาอังกฤษ, ศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ en_US
dc.title ศึกษาและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสู่สากล:กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A Study and Development of a Model of Participatory English Communication Innovation to Enhance Potential of Personnel to the International: A Case Study of Buriram Rajabhat University’s Support Personnel en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor jansuda.bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics