ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการพัฒนาการท่องเทยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้

Show simple item record

dc.contributor.author ปิยาภรณ์, ศิริภานุมาศ
dc.contributor.author สาธิต, ผลเจริญ
dc.contributor.author กมลรัตน์, สมใจ
dc.date.accessioned 2019-09-09T09:45:44Z
dc.date.available 2019-09-09T09:45:44Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5508
dc.description.abstract การวิจัยยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประเภทของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้ 3)เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้ และ 4) เพื่อหายุทธศาสตร์พึ่งพาเสริมสร้างความเข้มแข็งการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอีสานใต้ กลุ่มตวอย่างในการศึกษาคือ ประชาชนในพื้นที่ตัวแทนของจังหวัดในอีสานใต้ คือ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี จำนวน 414 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์เจาะลึก และการประชุมระดมสมอง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ประเภทของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้มี 4 ประเภทคือ 1) ยาสมุนไพร ทั้งในรูปแบบการรับประทาน การทา และการเป่า 2) การนวด จับเส้น การประคบและอบสมุนไพร 3) การผลิตอาหารธรรมชาติเพื่อสุขภาพ 4) การใช้มนต์คาถา การเสก เป่า 2. รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยงเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้มี 2 รูปแบบ คือ 1)การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้ ยังมีสิ่งต้องปรับปรุงคือ ควรมีป้ายบอกทางที่ชัดเจน การจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ เรื่องความสะอาด และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ 2) การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้ให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวประเภทอื่น ๆ คือ 2.1) เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ชมโบราณสถานและปราสาทหินต่าง ๆ 2.2) เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชน 3.แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้ทำได้โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีบทบาทของตนเองอย่างเหมาะสม ดังนี้คือ 1) เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง 2) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานใต้ด้วยการให้ผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ได้มีส่วนร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวดังนี้ 2.1 )ท้องถิ่นและประชาชน เตรียมความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เครือข่ายชุมชน คุณภาพในการจัดการด้านต่าง ๆ 2.2) หน่วยงานภาครัฐด้านการท่องเที่ยว ควรมีการประสานกับท้องถิ่น เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม 2.3) บริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ควรมีการประสานงานกับหมอพื้นบ้านและชุมชนเพื่อนัดหมายล่วงหน้า 2.4 นักท่องเที่ยว ควรได้ศึกษาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน และศึกษาวิถีชีวิตชุมชน การปฏิบัติที่เหมาะสม ไม่ทิ้งขยะ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 4. ยุทธศาสตร์พึ่งพาเพื่อเสริมสร้างความเข้าแข็งการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอีสานใต้ มี 4 ประการคือ 1)การพัฒนาองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง 2)การพัฒนาความเป็นผู้นำด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานใต้ ให้เชื่อมโยงกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมขอมโบราณ ของประเทศกัมพูชา 3) การพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านเขมรและลาวในฐานะที่เป็นแหล่งสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อนำมาเสริมสร้างสุขภาพ และ 4)การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพพร้อมกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นสินค้าส่งออกและใช้ร่วมกัน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ,ภูมิปัญญาพื้นบ้าน, อีสานใต้ en_US
dc.title แนวทางการพัฒนาการท่องเทยวเชิงสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในอีสานใต้ en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor kamonrat.sj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics