ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนบนพื้นที่ผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดหยาบจากใบสาบเสือ เพื่อประยุกต์ผลิตน้ำหมักทำความสะอาดพื้นผิวร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้านในหมู่บ้านท่องเที่ยวและศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสายยาว ต.ถลุงเหล็ก จ.บุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ภาวิณี ศิลาเกษ
dc.contributor.author รัตนา เพ็งเพราะ
dc.contributor.author สันธยา บุญรุ่ง
dc.date.accessioned 2019-09-03T10:20:42Z
dc.date.available 2019-09-03T10:20:42Z
dc.date.issued 2561-10-31
dc.identifier.citation รายงานการวิจัยฉบัยสมบูรณ์ วช.2561 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5406
dc.description.abstract สกัดสมุนไพรจากใบสาบเสือ (Chromolaena odorata ) โดยใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกันคือ น้ำ เอทานอลและเมทานอล เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคพื้นผิวสัมผัสทั้ง 5 ชนิดได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa และ Bacillus subtilis โดยวิธี Agar well diffusion พบว่าสมุนไพรที่สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 5 ชนิดได้ดีกว่าน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) แต่เนื่องจากสารเมทานอลไม่เหมาะที่จะใช้ในการสกัดใบสาบเสือเพื่อผลิตน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง จึงเลือกสกัดใบสาบเสือที่ด้วยตัวทำละลายเอทานอล และผลิตน้ำหมักจากใบสาบเสือโดยใช้เอทานอลร้อยละ 95 เป็นตัวทำละลายโดยใช้เวลาในการสกัด 30 วัน นำมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคพื้นผิวสัมผัสทั้ง 5 ชนิดเปรียบเทียบกับน้ำหมักจากสมุนไพรพื้นบ้านที่ชุมชนสายยาว จ.บุรีรัมย์ พบว่าน้ำหมักจากใบสาบเสือสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ได้ดีกว่าน้ำหมักสมุนไพรพื้นบ้าน (มะกรูด มะนาว และมะเฟือง) ที่ผลิตในชุมชนสายยาว และเมื่อนำน้ำหมักสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดมาวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและสารต้านอนุมูลอิสระพบว่าน้ำหมักสาบเสือมีปริมาณกรดฟีนอลิกมากกว่าน้ำหมักสมุนไพรเกือบทุกชนิดได้แก่ Gallic acid, Catechin acid, p-Hydroxybensoic acid, Chlorogenic acid, Caffeic acid, Syringic acid, Rutin, Quercitin และ Ferluric acid ยกเว้นเพียง P-cumaric acid ที่มีค่าน้อยกว่าน้ำหมักจากสมุนไพรพื้นบ้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระคือสาร Trolox พบว่ามีน้ำหมักสาบเสือมีปริมาณ Trolox เท่ากับ 4198.72±68.61 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่น้ำหมักสมุนไพรพื้นบ้านมี Trolox เพียง 300.42±16.21 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนสารประกอบฟลาโวนอยด์พบว่าน้ำหมักสมุนไพรพื้นบ้านมี มากกว่าน้ำหมักสาบเสือเพียงเล็กน้อย จากนั้นจึงนำผลการทดลองที่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่กลุ่มแม่บ้านโนนศิลา ฐานความรู้น้ำยาอเนกประสงค์ จ.บุรีรัมย์ และทำแบบสอบถามความพึ่งพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดจากใบสาบเสือร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้าน พบว่าส่วนใหญ่พอใจในระดับมากที่สุด en_US
dc.description.abstract Antimicrobial substances against to Bacillus cereus, Staphylococcus aureus Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa and Bacillus subtilis extracted by aqueous, methanol and ethanol from Siam weed (Chromolaena odorata) were investigated. The antimicrobial activity from different extraction solutions were determined by agar well diffusion method. The results showed that extracted Siam weed by ethanol and methanol contained more antimicrobial activity than the aqueous (p< 0.05). Unfortunately, methanol is not suitable to use as human cleaning solution because of their toxicity, thus we selected to use ethanol as an extraction solution for production of cleaning solution from Siam weed. After that, the Siam weed herb were fermented and extracted for 30 days with ethanol. The antimicrobial activity and quantification of phenolic compounds of local fermented herb (Citrus aurantifolia, Citrus hystrix and Averrhoa carambola) in Saiyaou Tourism Villages were also investigated and compared in antimicrobial activity with Siam weed. The fermented Siam weed herb showed higher inhibition effect to Bacillus cereus and Bacillus subtilis than local fermented herb. The HPLC–DAD analysis of 2 fermented herb groups were determined, analysis result revealed identification of ten phenolic compounds: Gallic acid, (+)(-) Catechin acid, p-Hydroxybensoic acid, Chlorogenic acid, Caffeic acid, Syringic acid, P-cumaric acid, Ferluric acid, Rutin and Quercitin. The fermented Siam weed herb had higher phenolic compounds than local fermented herb. The antioxidant (Trorox) of fermented Siam weed herb was 4,198.72±68.61 µg/ml while the local fermented herb was 300.42±16.21 µg/ml. Extraction technique of Siam weed herb to produce cleaning solution was transferred to the community in Saiyaou tourism villages and learning center, Tambol thalung lek, Buriram province. Results from questionnaire and producer satisfaction surveys in Siam weed cleaning solution showed that producer very much satisfied with Siam weed cleaning solution in term of its applicable and effectiveness. en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries 93/2561;
dc.subject microorganism en_US
dc.subject microorganism en_US
dc.title ผลการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนบนพื้นที่ผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดหยาบจากใบสาบเสือ เพื่อประยุกต์ผลิตน้ำหมักทำความสะอาดพื้นผิวร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้านในหมู่บ้านท่องเที่ยวและศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสายยาว ต.ถลุงเหล็ก จ.บุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Inhibition of Pathogenic Bacteria Contaminating Exposes Surfaces by Siam Weed (Chromolaena odorata) leaves Extracted and Application to Produce Ferment-Based Cleaning Solution with Some Traditional Herbs in Saiyeaw Tourism Villages and Learning Center, Tambol Thalung Lek, Buriram Province en_US
dc.type Research en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics