ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์และการผลิตอาหารสัตว์เศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

Show simple item record

dc.contributor.author คณะเทคโนโลยีการเกษตร en_US
dc.date.accessioned 2019-06-20T02:33:59Z
dc.date.available 2019-06-20T02:33:59Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4944
dc.description ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสามารถในการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรรายใหญ่รายหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบกับลักษณะทางภูมิประเทศที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้น ในกระบวนการผลิตสัตว์นั้น ต้นทุนที่สำคัญประการหนึ่งคือ อาหารสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 60-70 ของต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตสัตว์ให้มีคุณภาพดี อาหารสัตว์อาจได้มาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ วัตถุดิบจำพวกวิตามินและแร่ธาตุ พืชอาหารสัตว์ รวมทั้งผลพลอยได้ทางการเกษตร และผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยต้องประสบปัญหาภาวะขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ในการผลิตเป็นอาหารสัตว์ ทั้งนี้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีความผันผวน การเกิดภัยธรรมชาติที่กระทบต่อพื้นที่การผลิตพืชอาหารสัตว์ ทำให้มีการพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการนำเข้า โดยจะใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพด เป็นต้น พืชเหล่านี้นอกจากจะเป็นพืชที่ให้พลังงานแล้ว ยังเป็นพืชที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์อีกด้วย ส่งผลให้เกิดความต้องการวัตถุดิบอาหารสัตว์มากขึ้น เกิดปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มสูงมาก โดยโครงสร้างปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศไทย คือ ความปลอดภัยทางด้านอาหาร การปลอมปน และการปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นสารพิษในอาหาร เช่น อะฟลาทอกซิน ไดออกซิน และเมลามีน ดังนั้นควรเน้นให้ผู้ผลิตเข้าสู่มาตรฐานการผลิตที่เป็นสากล เช่น ระบบการกำหนดมาตรฐานสากลในการจัดระบบของหน่วยงาน ISO (International Standardization and Organization) เป็นองค์การมาตรฐานสากลหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เป็นหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้ผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย (Hazard Analysis Critical Control Point, HACCP) เป็นระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเป็นเครื่องมือในการชี้เฉพาะเจาะจงประเมินและควบคุมอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการผลิตอาหาร รวมถึงระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพความปลอดภัย ซึ่งทุกประเทศต้องการระบบการผลิตที่มีความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ทั้งต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนด้านสัตวศาสตร์ และบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคมตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย มีความตระหนักในเรื่องดังกล่าว จึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่อง นวัตกรรม ความก้าวหน้า และแนวทางการผลิตอาหารสัตว์ปลอดภัย โดยได้เชิญวิทยากรระดับประเทศที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตอาหารสัตว์ปลอดภัย มาให้ความรู้แก่อาจารย์ผู้สอนทางสัตวศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป นับว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาการผลิตอาหารสัตว์ต่อไปในอนาคต en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์และการผลิตอาหารสัตว์เศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.type Academic document en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics