ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชนในด้านการออมเงินเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ

Show simple item record

dc.contributor.author คณะวิทยาการจัดการ en_US
dc.date.accessioned 2019-06-19T09:30:14Z
dc.date.available 2019-06-19T09:30:14Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4897
dc.description ปัจจุบันสภาพสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไป โดยได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ตลอดจนได้รับกับ อารยธรรมจากตะวันตก จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะทางสังคมมีผลทำให้โครงสร้างและค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากครอบครัวขยายสู่ครอบครัวเดี่ยวทำให้ขาดความใกล้ชิดกัน ซึ่งผู้สูงอายุต้องอยู่เพียงลำพังขาดการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัว บางรายไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ไม่สามารถทำงานหาลี้ยงชีพได้ เป็นปัญหาทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสังคมที่มีความสำคัญมากซึ่งควรให้ความสำคัญในการวางแผนเพื่อเตรียมเข้าสู่วัยเกษียณ จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษาและวางแผนให้ความช่วยเหลือประชากรสูงอายุ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้สูงอายุที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา แต่สิ่งที่เป็นปัญหาและสำคัญยิ่ง คือ จำนวนประชากรที่มีมากขึ้นจึงต้องเฉลี่ยงบประมาณสำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุให้เป็นไปอย่างทั่วถึงทำให้ผู้สูงอายุแต่ละรายอาจได้รับความช่วยเหลือน้อยลงและอาจไม่เพียงพอต่อความจำเป็นที่แท้จริงในการดำรงชีวิต จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนในสังคม การเพิ่มขึ้นของประชาการสูงอายุยังมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารประเทศ กล่าวคือ นอกจากประชาการในวัยแรงงานลดลงแล้วยังทำให้การลงทุนลดลงด้วย ตลอดจนภาครัฐต้องนำเงินงบประมาณการพัฒนาประเทศส่วนหนึ่งมาดูแลผู้สูงอายุ อีกทั้งเมื่อโครงสร้างประชาการ เริ่มขยับไปสู่การมีประชากรสูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ สัดส่วนของประชากรวัยทำงานที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุก็จะลดน้อยลง การศึกษาอัตราการเป็นภาระวัยสูงอายุ จะเห็นได้ว่า ในปี พ.ศ. 2533 มีประชาการวัยแรงงาน 10 คน ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน และมีการประมาณการว่าในปี พ.ศ. 2563 ภาระของประชาการวัยแรงงานในการดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะประชากรวัยแรงงานประมาณ 4 คน จะต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 คน (ศิริวรรณ ศิริบุญ และชเนตตี มิลินทางกูร. 2551 : 1) เทศบาลอำเภอประคำ หมู่ 1 ตำบลปะคำ อำเภอประคำ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่มีประชาชนจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านที่ประชาชนยังขาดการเก็บออมเงินเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ ซึ่งหากปัจจุบันประชาชนยังไม่สร้างนิสัยรักการออมเงินให้กับตนเองแล้ว อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการดำเนินชีวิตในวัยเกษียณอายุได้ จากเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การออมเงินเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณมีความสำคัญมาก ยิ่งเป็นบุคคลที่มีรายได้ประจำหรือรายได้ทางเดียว ยิ่งต้องให้ความสำคัญต่อการออมเงิน เพื่อมิให้เป็นภาระกับลูกหลาน ภาระของรัฐบาล ตลอดทั้งยังเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงของชีวิตในวัยเกษียณ ดังนั้นสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและมีความสนใจที่จะจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน เรื่อง “การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชนในด้านการออมเงิน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ” เพื่อเป็นการส่งเสริมและเสนอแนะรูปแบบการออมเงินและอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับในปัจจุบัน ตลอดทั้งยังเป็นการสร้างนิสัยรักการออมเงินให้กับประชาชนอีกด้วย en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชนในด้านการออมเงินเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ en_US
dc.type Academic document en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics