ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

Show simple item record

dc.contributor.advisor นลินทิพย์ พิมพ์กลัด/กิ่งแก้ว ปะติตังโข en_US
dc.contributor.author พระเริ่ม, ไขตะขบ
dc.contributor.author นลินทิพย์, พิมพ์กลัด
dc.contributor.author กิ่งแก้ว, ปะติตังโข
dc.date.accessioned 2019-06-15T08:03:28Z
dc.date.available 2019-06-15T08:03:28Z
dc.date.issued 2018-07-15
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4728
dc.description ปรด.ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการ จัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชน ในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 396 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันในการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระยะที่ 2 การร่างแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระยะที่ 3 ตรวจสอบร่างแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และระยะที่ 4 การประเมินผลแนวทางส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากลำดับที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า ด้านการริเริ่มดำเนินการ ( = 4.38, S.D. = 0.62) รองลงมา ได้แก่ ด้านดำเนินการ ( = 4.31, S.D. = 0.65) ด้านการวางแผนการดำเนินการ ( = 4.29, S.D. = 0.65) และด้านการประเมินผล ( = 4.21, S.D. = 0.71) ตามลำดับ 2. ร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญ ได้ร่างรูปแบบ 4 ขั้นตอนได้แก่ การเตรียมการ การริเริ่ม การวางแผน การดำเนินงาน และการประเมิน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัด ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน 3. ตรวจสอบร่างแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมทาง พระพุทธศาสนา ได้แก่ 1) การสร้างศรัทธา ประกอบด้วย รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ทำกิจวัตรต่างๆ ศึกษาไตรสิกขา บริหารคณะสงฆ์ เผยแผ่พระพุทธศาสนา ปฏิสังขรณ์เสนาสนะ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา 2) การเป็นที่พึงของชาวบ้าน 3) ความสอดคล้องกับบริบทชุมชน 4) การมีเครือข่ายความช่วยเหลือ 5) การมีทีมงาน 6) การมีจุดเด่นในการทำกิจกรรม 4. การประเมินผลแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดกับชุมชนในการจัดกิจกรรมวัน สำคัญทางพระพุทธศาสนา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นเรียงจากลำดับที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า ขั้นประเมินผล ( = 4.80, S.D. = 0.40) รองลงมา ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ( = 4.77, S.D. = 0.48) ขั้นริเริ่ม ( = 4.77, S.D. = 0.46) ขั้นดำเนินการ ( = 4.75, S.D. = 0.45) และขั้นวางแผน ( = 4.72, S.D. = 0.49) en_US
dc.description.sponsorship มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การมีส่วนร่วม en_US
dc.subject วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา en_US
dc.title แนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline ภาวะผู้นำ en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.name ปรด.ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics