ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.author วงศ์อารีย์, ชลาลัย
dc.date.accessioned 2019-06-14T08:54:55Z
dc.date.available 2019-06-14T08:54:55Z
dc.date.issued 2561-08
dc.identifier.citation วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 12 ฉบับพิเศษ (สิงหาคม 2561) en_US
dc.identifier.isbn 2286-9581
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4715
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อ1) ศึกษาบริบทและปัญหาของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่บ้านหัวสะพาน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทธไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและชุดการแสดงนาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านสำหรับท้องถิ่นชุด ฟ้อนบูชาหลวงปู่ขาว เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุชาย-หญิงในชุมชนบ้านหัวสะพานจำนวน 60 คน เก็บข้อมูลแบบวิธีผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างสำหรับรวบรวมข้อมูล และแบบประเมินเพื่อวัดความสุขของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนถูกทิ้งให้อยู่บ้านเพียงลำพัง แต่ชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรมที่ดี ผู้วิจัยจึงสร้างสรรค์บทสรภัญญะ พร้อมกับออกแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหว 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเพลงนำพา กิจกรรมท่าพื้นฐาน กิจกรรมประสานท่วงที กิจกรรมมีลีลางามสง่าผู้สูงวัย และสร้างสรรค์ชุดการแสดงนาฏยประดิษฐ์พื้นบ้าน 1 ชุด ได้แก่ ฟ้อนบูชาหลวงปู่ขาว โดยใช้ลักษณะการออกแบบท่ารำแบบเล่าเรื่องตามประวัติของหลวงปู่ขาวเพื่อง่ายต่อการจดจำและกระตุ้นความสนใจต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความกระตือรือร้นและแสดงอารมณ์สนุกสนานตลอดการทำกิจกรรมเคลื่อนไหว และจากการทำแบบประเมิน พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีระดับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกด้าน en_US
dc.description.abstract The objectives of the research were 1) to examine the context and problems of the elderly in Hua Sapan Village Community in Ban Yang sub-district in Phutthai Song district in Buriram province and 2) to create a model for the local arts and cultural activities and local choreography performance for local dance to respect Luang Pu Khao in order to promote the elderly health by using the participatory action research methodology. The target group consisted of 60 male and female elderly in Hua Sapan Village Community. The data were collected by employing quantitative and qualitative research method. The instruments used in the research were: Unstructured Interview Form And the evaluation form to measure the happiness of the elderly. The results from the study showed that the elderly in the community were left to live at home. However, there is a good cultural capital in the community. The researcher then developed the Buddha prayer song for telling the legend of Luang Pho Khao and designed 4 motor activities: lead-in moves, basic moves, mixed moves, and elderly elegant moves and create 1 local choreography performance: Luang Pu Khao respect dance by using dance moves to tell the legend of Luang Pu Khao, so it was easy for the elderly to remember and get the elderly interest. the elderly participated in the activities with enthusiasm and enjoyment throughout these motor activities. And from the results derived from the assessment forms showed that the elderly quality of life level, the score level of after participating the activities was higher than before participating the activities significantly different at .05 level in all aspects en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ en_US
dc.subject ส่งเสริมสุขภาพ en_US
dc.title แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ en_US
dc.title.alternative APPROACHES FOR ORGANIZING THE LOCAL ARTS AND CULTURAL ACTIVITIES FOR ELDERLY HEALTH PROMOTION en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor vongchala@gmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor chalalai.va@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics