ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม 5 ดาว ในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับสู่ความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์

Show simple item record

dc.contributor.author ฐิติพร, วรฤทธิ์
dc.date.accessioned 2018-07-19T08:30:19Z
dc.date.available 2018-07-19T08:30:19Z
dc.date.issued 2018-07-19
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4238
dc.description.abstract บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ OTOP 2) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม 5 ดาว 3) ศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม 5 ดาว และ 4) จัดทำกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม 5 ดาว ในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปในงาน OTOP และงานการจัดนิทรรศการของดีเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมระดับ 5 ดาว ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 5 กลุ่ม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนกลุ่มละ 2 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 10 คน โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำเสนอโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ OTOP พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ 2. สถานการปัจจุบันของผลิตภัณฑ์ OTOP พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกสู่ตลาดมีรูปแบบเดิมๆ 2) ด้านราคา พบว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมีราคาสูง 3) สถานที่การจัดจำหน่าย พบว่า มีการขายผลิตภัณฑ์ตามงานนิทรรศการต่างๆ และการขายทางออนไลน์ และ 4) การส่งเสริมการขาย พบว่า มีการโฆษณาโดยใช้แผ่นพับหรือโปรชัวร์ 3. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ต้องพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงาม และทันสมัย สื่อถึงความเป็นมาของแต่ละท้องถิ่น ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกเหนือจากเครื่องนุ่งห่ม และใช้นวัตกรรมในการผลิตเพื่อให้ลดความร้อนในการสวมใส่ 2) ด้านราคา ต้องไม่สูงเกินไป 3) ด้านสถานที่ ต้องขยายตลาดไปสู่แหล่งจำหน่ายที่หลากหลาย และส่งเสริมให้มีการจำหน่ายทางออนไลน์ และ 4) ด้านการส่งเสริมการขาย โดยสามารถนำยอดซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ไปลดหย่อนภาษีเงินได้ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ตามสื่อต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ สนับสนุนให้พนักงานสวมใส่ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม 4. กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP พบว่า สามารถใช้หลักการ 4 Ps มาเป็นแนวทางในการจัดทำกลยุทธ์ทางด้านการตลาดให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน คำสำคัญ : กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม, การแข่งขันเชิงพาณิชย์ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม, การแข่งขันเชิงพาณิชย์ en_US
dc.title กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม 5 ดาว ในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับสู่ความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor Tumnaka_macc3@hotmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics