ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษารูปแบบการออมเงิน เพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author เกษมะณี, การินทร์
dc.date.accessioned 2018-07-19T08:24:49Z
dc.date.available 2018-07-19T08:24:49Z
dc.date.issued 2018-07-19
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4237
dc.description.abstract บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การออมเงินในปัจจุบันของประชากรในเขตอำเภอเมือง ตำบลในเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการออมเงินของประชาชนในเขตอำเภอเมืองตำบลในเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการออมเงิน เพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของประชากรในเขตอำเภอเมือง ตำบลในเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบบสอบถาม ที่มีอายุตั้งแต่ 20-59 ปี จำนวนทั้งสิ้น 389 คน ใช้วิธีการเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 และขนาดความคลาดเคลื่อนเป็นร้อยละ ±.5 สถิติที่ใช้ในการวิจัยพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ T-test และ F-test และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD โดยกำหนดการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มประชากร 6 กลุ่มๆ อาชีพๆ ละ 5 คน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้มีอาชีพรับราชการ 2) กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน 3) กลุ่มพนักงานรัฐวิสากิจ 4) กลุ่มธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย 5) กลุ่มเกษตรกร และ 6) กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำเสนอโดยการพรรณนาเขิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานการณ์การออมเงินในปัจจุบันของกลุ่มประชากร พบว่า ประชากรโดยส่วนใหญ่มีการออมเงินตามช่วงโอกาสและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ จะจัดสรรเงินจำนวนหนึ่งไว้ออม โดยเฉลี่ยแล้วประมาณร้อยละ 25 ของรายได้ เป็นเงินออมระยะสั้น ประชาชนโดยรวมมีความต้องการออมเงินในรูปแบบของการฝากออมทรัพย์ มากที่สุด รองลงมา คือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อประกัน การฝากประจำ กองทุนรวม และการซื้อสลากออมสิน ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบรูปแบบการออมเงิน พบว่า 1) เพศที่ต่างกัน จะมีการออมเงินที่ต่างกันในรูปแบบของกองทุนรวม 2) ช่วงอายุที่แตกต่างกันจะมีรูปแบบการออมเงินที่ต่างกัน 3) ระดับการศึกษาที่ต่างกัน จะมีการออมเงินที่ต่างกันในรูปแบบของการฝากประจำและการฝากแบบออมทรัพย์ 4) อาชีพที่แตกต่างกัน จะมีการออมเงินที่ต่างกันในรูปแบบของการฝากประจำ และ 5) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน จะมีการออมเงินที่ต่างกันในรูปแบบของการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและการซื้อประกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบการออมเงิน เพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของประชากรในเขตอำเภอเมือง ตำบลในเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ผู้ที่มีอาชีพรับราชการ งานรัฐวิสากิจ และกลุ่มธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย นิยมออมเงินในรูปแบบของการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ส่วนผู้ที่มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน เกษตรกร และนักเรียน/นักศึกษา นิยมออมเงินในรูปแบบของการฝากออมทรัพย์ คำสำคัญ : รูปแบบการออมเงิน, วัยเกษียณ, จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการออมเงิน, วัยเกษียณ, จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษารูปแบบการออมเงิน เพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor insignmind1208@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics