ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการบริหารจัดการหนี้สินในครัวเรือนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่หนองขวาง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ฐิติพร, วรฤทธิ์
dc.date.accessioned 2018-07-17T03:19:01Z
dc.date.available 2018-07-17T03:19:01Z
dc.date.issued 2018-07-17
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4234
dc.description.abstract บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาวะหนี้สินของชุมชนในเขตพื้นที่หนองขวาง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหนี้สินในครัวเรือนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่หนองขวาง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนในเขตพื้นที่ตำบลหนองขวาง จำนวน 229 ครัว และตัวแทนในครัวเรือนในชุมชนหนองขวางที่มีจำนวนหนี้สินมากกว่า 50,000 บาท จำนวนทั้งสิ้น 30 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และนำเสนอข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น คือการกู้ยืม ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน การใช้จ่ายในครัวเรือน และหนี้สินที่เกิดจากการทำการเกษตร สภาพดินฟ้าอากาศ และภาษีทางสังคม โดยพบว่า ครัวเรือนในชุมชนบ้านหนองขวางมีแหล่งรายรับจากการทำนา ปลูกอ้อย ยางพารา เงินสนับสนุนจากรัฐบาลจากเบี้ยยังชีพผู้สูงวัย อาชีพเสริมจากการค้าขาย ทอผ้า กลุ่มอาชีพ และรายได้อื่น ๆ ได้แก่ จากการรับจ้าง ลูกหลานส่งมาให้ เป็นต้น โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 68,271 บาท/ปี ส่วนแหล่งรายจ่ายที่มากที่สุดสามอันดับแรกได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 80,906 บาท/ปี รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเล่าเรียนบุตร โดยเฉลี่ยนครัวเรือนละ 57,933 บาท/ปี และรายจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิตและด้านการเกษตร โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 34,874 บาท/ปี ด้านการออม พบว่า ครัวเรือนเป้าหมายมีการออมเงินอยู่รูปของกองทุนหมู่บ้าน กองทุนสัจจะ และสหกรณ์หมู่บ้าน โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 1,490 บาท/ปี และภาวะหนี้สิน พบว่า หนี้สินในครัวเรือนเกิดจากการู้ยืม ธกส. สหกรณ์การเกษตร กองทุนหมู่บ้าน โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ และหนี้นอกระบบ โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 125,000 บาท/ปี 2) รูปแบบการบริหารจัดการหนี้สินในครัวเรือนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่หนองขวาง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองขวางนั้นหากนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้จะมีแนวทางในการบริหารจัดการหนี้สินดังนี้ 1) ชาวบ้านในเขตชุมชนหนองขวางควรมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการใช้จ่ายของครัวเรือน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยปรับแนวคิดว่าหากมีรายได้ควรเก็บออมเป็นลำดับแรกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเผื่อกรณีฉุกเฉิน และเพื่ออนาคตในยามชรา 2) การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน ระบุถึงรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจน และพิจารณาให้ได้ว่ารายจ่ายใดฟุ่มเฟือย ควรใช้จ่ายแต่พอประมาณ ไม่เกินตัว ถึงแม้รายได้ไม่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีเงินออมจากการลดค่าใช้จ่ายได้ การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการบริหารจัดการเงินที่มีประสิทธิภาพจะช่วยรู้จักใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลพอประมาณ นับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) การตั้งเป้าหมายเพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย พยายามลดหนี้ที่มีโดยไม่สร้างหนี้เพิ่มโดยไม่จำเป็น หรือก่อหนี้เมื่อจำเป็นและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรเป็นหนี้เพื่อการลงทุนที่จะก่อให้เกิดรายได้ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต ไม่ควรก่อหนี้นอกระบบเพราะปัญหาที่ตามมาอาจมากกว่าภาระหนี้สินที่เกิดขึ้น และ 4) การหาอาชีพเสริมเพื่อใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อยในชีวิตประจำวัน เนื่องจากชุมชนบ้านหนองขวาง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย แต่ก็ยังจำเป็นต้องหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ดังนั้นการหาอาชีพเสริมนอกจากจะสร้างรายได้ไว้ช่วยจุนเจือครอบครัวแล้วอาจยังเป็นการช่วยคลายเหงา และยังเป็นกิจกรรมเสริมสุขภาพกายและใจ ช่วยให้ผู้สูงวัยมีอายุยืนยาวได้ด้วย คำสำคัญ : การบริหารจัดการหนี้สิน หนี้สินในครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การบริหารจัดการหนี้สิน หนี้สินในครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.title รูปแบบการบริหารจัดการหนี้สินในครัวเรือนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่หนองขวาง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Asset-liability management pattern for household as sufficiency economy concept with communities’ participation in Nong Khwang area, Tambon Porn Samran, Koo Meuang, Buriram en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor tumnaka_macc3@hotmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics