ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทของชุมชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัด บุรีรัมย์ กรณีศึกษาชุมชนวนอุทยานเขากระโดง

Show simple item record

dc.contributor.author ผศ.อรรถกร, จัตุกูล
dc.date.accessioned 2018-07-16T08:04:39Z
dc.date.available 2018-07-16T08:04:39Z
dc.date.issued 2018-07-16
dc.identifier.citation วารสารวิชาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) 2561 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4231
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง บทบาทของชุมชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษาชุมชนวนอุทยานเขากระโดง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของชุมชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว วนอุทยานเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว วนอุทยานเขากระโดงอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นประชาชนในชุมชนพื้นที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตำบลเสม็ด ชุมชนตำบลอิสานและชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน ผู้นำชุมชน 6 คน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 คน โดยผู้วิจัยได้กำหนดขนาดตัวอย่างประชาชนในชุมชน โดยใช้สูตรการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบทราบจำนวนประชากร โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ 95% ความผิดพลาดไม่เกิน 5% ใช้สูตรของ Taro Yamaneทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ จำนวน 30 ตัวอย่าง มีความน่าเชื่อถือในระดับสูง โดยมีค่าทดสอบที่ 0.90 ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาทั้งการวิจัยแบบคุณภาพจากเอกสารทางราชการและเอกสารเผยแพร่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดประชุมระดับความคิดเห็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาวนอุทยานเขากระโดง และการวิจัยเชิงปริมาณสำรวจความมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนต่อการพัฒนาวนอุทยานเขากระโดง เมื่อได้เก็บข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล มีรายละเอียดดังนี้ ผลการวิจัย พบว่า เชิงปริมาณ บทบาทของชุมชนต่อการพัฒนาตลาดท่องเที่ยว วนอุทยานเขากระโดง จำแนกตามส่วนประสมทางการตลาดบริการสรุปผลเป็นรายด้าน ได้ดังนี้ บทบาทด้านแหล่งท่องเที่ยวและบริการ ชุมชนมีบทบาทการบริหารการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มากที่สุด บทบาทด้านราคา ชุมชนมีบทบาทกำหนดราคาค่าสาธารณูปโภคในแหล่งท่องเที่ยว มากสุด บทบาทด้านทำเลที่ตั้ง ชุมชนมีบทบาทร่วมพัฒนาทางเดินเที่ยวชมทิวทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว มากสุด บทบาทด้านการส่งเสริมการตลาด ชุมชนมีบทบาทร่วมปรับปรุงระบบข้อมูลและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว มากสุด บทบาทด้านบุคลากร ชุมชนมีบทบาทให้บริการและเต็มใจให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว มากสุด บทบาทด้านกระบวนการ ชุมชนมีบทบาทเสนอแนวคิด การตัดสินใจและพัฒนาสินค้าของที่ระลึก มากสุดด้านลักษณะทางกายภาพ ชุมชนมีบทบาทพัฒนาพื้นที่บริเวณแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่ มากสุด ด้านผลิตภาพ ชุมชนมีบทบาทคิดค้นประเพณี หรือวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว มากสุด เชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาตลาดท่องเที่ยววนอุทยานเขากระโดง กล่าว โดยสรุปผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าวนอุทยานเขากระโดงควรพัฒนาในรูปแบบของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเป็นพักผ่อนหย่อนใจ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาข้อมูลธรณีวิทยา ธรรมชาติภูเขาไฟ ร้านค้าจำหน่ายสินค้า จำหน่ายอาหาร จำหน่ายของที่ระลึกต้องมีการกำหนดหรือควบคุมดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ พัฒนาถนนทางขึ้นเขากระโดง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม ควรมีการปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม พัฒนาชุมชนใกล้แหล่งท่องเที่ยว จัดให้ชุมชนสะอาดเป็นระเบียบเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้มากขึ้นโดยพัฒนาสื่อ เนื้อหา จุดขายของแหล่งท่องเที่ยว ผ่านสื่อทุกรูปแบบ เช่น แผ่นพับ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ท บทความลงในหนังสือพิมพ์หรือหนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างชาติ ให้มากกว่า 3 ภาษา บุคลากรมีจำนวนจำกัด ควรเพิ่มบุคลากรให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เขามาเยี่ยมชมวนอุทยานเขากระโดง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววนอุทยานเขากระโดง และควรพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัย มีการจัดเจ้าหน้าที่ รปภ. หรืออป.พร หมู่บ้าน รักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว พัฒนาบริเวณแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสะอาด รวมทั้งร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ให้ปราศจากการทิ้งขยะ เศษกระดาษ เศษอาหาร รณรงค์อนุลักษณ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างให้แหล่งท่องเที่ยวมีความสวยงามปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค ให้สะอาดและพร้อมที่จะให้บริการนักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา ควรนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริการนักท่องเที่ยว เช่น ติดตั้ง WIFI ในแหล่งท่องเที่ยว คำสำคัญ บทบาท ชุมชนท้องถิ่น พัฒนาตลาดท่องเที่ยว en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject บทบาท ชุมชนท้องถิ่น พัฒนาตลาดท่องเที่ยว en_US
dc.title บทบาทของชุมชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัด บุรีรัมย์ กรณีศึกษาชุมชนวนอุทยานเขากระโดง en_US
dc.title.alternative Role of local communities in the tourism markets development In Buriram Province with Kao Kradong Park case study. en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor auttakorn.ck@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics