ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ตามมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Show simple item record

dc.contributor.author ธิติพรรณ์, บำรุงกุลพิพัฒน์
dc.contributor.author ดร. ผจญ, โกจารย์ศรี
dc.date.accessioned 2018-07-06T07:10:02Z
dc.date.available 2018-07-06T07:10:02Z
dc.date.issued 2018
dc.identifier.citation บทความฉบับเต็ม ภาคโปสเตอร์ การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4221
dc.description การที่จะสอนภาษาไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้น จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะ ต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน ทั้งทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าว ของ สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2538 : 98) ที่กล่าวไว้ว่า “ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่สำคัญและ ใช้มากในชีวิตประจำวัน เพราะเป็นทักษะที่ใช้ในการแสวงหาสรรพวิทยาต่าง ๆ เพื่อความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อน ใจ ผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านและมีทักษะในการอ่านย่อมแสวงหาความรู้และศึกษาเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในการพูดและการเขียนได้เป็นอย่างดี” และทักษะการเขียนถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญยิ่ง อีกทักษะหนึ่งที่ใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความเข้าใจออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ดังนั้นการเขียนสะกดคำที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญต่อการเขียนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพื้นฐานที่จำเป็นของการเขียน อย่างหนึ่งที่นักเรียนจะต้องรู้จักสะกดคำให้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถเขียนประโยคและเรื่องราวได้ นอกจากนี้การเขียน สะกดคำยังเป็นทักษะพื้นฐานในการแสดงออกที่สำคัญในการเรียนการสอนเกือบทุกวิชา การฝึกการอ่านและการเขียนสะกดคำในภาษาไทยโดยการใช้แบบฝึกทักษะมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะแบบ ฝึกทักษะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วยให้นักเรียนมีทักษะทางภาษาคงทนและมีพัฒนาการ ทางการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าว ที่ว่า การสอนภาษาไม่ว่าภาษาใดๆการฝึกทักษะทั้ง 4 ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียนเป็นสิ่งสำคัญมาก เด็กควรจะได้รับการฝึกทักษะทั้งสี่นี้จนสามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว โดย อาจฝึกที่ละทักษะหรือฝึกสลับกันก็ได้ (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. 2542 : 50) ลักษณะที่ดีของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกด คำ ควรมีเนื้อหาตรงจุดประสงค์เรียงจากง่ายไปหายากมีเนื้อหาตรงกับหลักสูตร กิจกรรมเหมาะสมกับวัย ความสามารถ และภูมิหลังของนักเรียน มีภาพประกอบ ตัวอย่างประกอบมีปัญหาท้าทาย มีเติมคำ โยงคำ หาความหมาย มีการวาง ฟอร์มที่ดี มีที่ว่างเหมาะสมสำหรับฝึกเขียน มีคำสั่งสั้นๆ รัดกุมเข้าใจง่าย นักเรียนได้ฝึกคิด สนุกสนาน เวลาที่ใช้ เหมาะสม แบบฝึกมีหลายรูปแบบ นักเรียนไม่เบื่อ ท้าทายความสามารถและผู้เรียนสามารถนำไปฝึกด้วยตนเองได้ (ขันธ ชัย มหาโพธิ์. 2535 : 20) และ จินตนา ชูเชิด ( 2537 : 24 ) ได้สรุปลักษณะของแบบฝึกที่ดีไว้ว่า จะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ แน่นอนว่า ต้องการฝึกทักษะด้านใด ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน มีรูปแบบดึงดูดความสนใจของนักเรียน หลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เรียงลำดับความยากง่าย ใช้เวลาในการฝึกเหมาะสมไม่นานจนเกินไป มีภาพน่าสนใจ ทำให้นักเรียนมีความตั้งใจที่ฝึก ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะวิจัย เรื่องผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตรา ตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน เพื่อนำมาใช้พัฒนา ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยรวบรวมคำยากจากบัญชีคำพื้นฐานในบทเรียน มาจัดทำเป็นแบบฝึกทักษะที่ มีรูปแบบน่าสนใจ มีเนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถและวัยของผู้เรียน โดยหวังว่าแบบฝึกทักษะที่สร้าง ขึ้นนี้จะเป็นสื่อนวัตกรรม ที่จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยให้สูงขึ้นได้ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject Skill Exercises en_US
dc.subject Reading and Word Spelling en_US
dc.subject Mattra Tua Sakod en_US
dc.subject Thai Language Learning en_US
dc.title ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ตามมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 en_US
dc.title.alternative EFFECTS OF MATTRA TUA SAKOD IN READING AND WRITING WORD SPELLING SKILL EXERCISES OF THAI LANGUAGE LEARNNING STRAND FOR PRATHOMSUKSA 3 STUDENTS en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics