ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ส้ารวจการเลี้ยง นheหนักตัวและลักษณะทางกายวิภาคของ กระบือนมชุมชนบ้านสี่เหลี่ยมน้อย ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อาจารย์วิณากร ที่รัก en_US
dc.contributor.author ทีประโคน, นพดล
dc.contributor.author ตาชูชาติ, ปัญญา
dc.contributor.author ที่รัก, วิณากร
dc.date.accessioned 2018-07-04T06:55:35Z
dc.date.available 2018-07-04T06:55:35Z
dc.date.issued 2561-05-25
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4219
dc.description ปริญญาวิทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,2560 en_US
dc.description.abstract การศึกษาการสำรวจการเลี้ยง น้าหนักตัวและลักษณะทางกายวิภาคของกระบือนมชุมชนบ้านสี่เหลี่ยมน้อย ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ในชุมชนบ้านสี่เหลี่ยมน้อย ตำบล หนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง วันที่ 30 เมษายน 2561 โดยศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่เลี้ยงกระบือนม การเลี้ยงกระบือนม ศึกษาน้ำหนักตัวและลักษณะทางกายวิภาคของกระบือนม โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ และการท้าประชาคม เพื่อศึกษา สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่เลี้ยงกระบือนม การเลี้ยงกระบือนม ศึกษาน้ำหนักตัวและลักษณะทางกายวิภาคของกระบือนมที่เลี้ยงโดยเกษตรกร ชุมชนบ้านสี่เหลี่ยมน้อย ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงนำข้อมูลความยาวรอบอก (GIR) ประเมินหาน้าหนักตัว (WT) จากสูตรของวัฒนา และรุจิรา (2557) ที่ว่า WT = -982.39+7.56 (GIR) พบว่า ลักษณะพื้นฐานทางสังคมสภาพการเลี้ยงและเศรษฐกิจของเกษตรกร สถานภาพของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือนมส่วนใหญ่สถานภาพสมรส อายุของเกษตรกรผู้เลี้ยงส่วนใหญ่อายุ 51 – 60 ปี รองลงมาคืออายุ 41 – 50 ปีและระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับประถมศึกษา รองลงมาคือมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำนา รองลงมาคือเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรที่เลี้ยงกระบือนมมีสมาชิกในครัวเรือน4 – 6 คน ส่วนใหญ่เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือนมถือครองที่ดินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นที่ดินส่วนตัว เกษตรกรใช้แรงงานในครัวเรือนที่ใช้เลี้ยงกระบือนม 1 – 2 คน ประสบการณ์ของเกษตรกรในการเลี้ยงกระบือนม 2 – 3 ปี ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงกระบือนมต่อปี มากกว่า 10,000บาท แหล่งเงินทุนในการเลี้ยงกระบือนมส่วนใหญ่ใช้เงินตนเองและเงินอื่นๆ รองลงมาคือ เงินกองทุนหมู่บ้าน การเลี้ยงกระบือนมของเกษตรกร พบว่า รูปแบบของการเลี้ยงส่วนใหญ่เลี้ยงเฉพาะกระบือนมสายพันธุ์เดียวและเลี้ยงรวมกระบือนมกับกระบือปลัก เกษตรกรใช้เวลาในการเลี้ยงกระบือนมวัน ละมากกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งรูปแบบโรงเรือนหรือคอกในการเลี้ยงเป็นคอกที่อยู่นอกบ้านมีหลังคากันแดดกันฝน เกษตรกรให้กระบือนมกินหญ้าในแปลงเอง และตัดหญ้าสดให้กิน แหล่งอาหารหยาบที่ใช้เลี้ยงกระบือนมส่วนใหญ่เกษตรกรจะเลี้ยงในทุ่งหญ้าสาธารณะและทุ่งหญ้าของผู้อื่น น้ำที่ใช้เลี้ยงกระบือนมใช้น้าบ่อธรรมชาติ และน้าบาดาล เกษตรกรสำรองอาหารหยาบไว้เพียงพอต่อความต้องการของกระบือนม ลักษณะทางกายวิภาคมีสีด้าหรือสีน้าตาลเข้ม อาจมีขาวบริเวณหน้าผากและปลายพู่หางเขามีลักษณะม้วนงอ ล้าตัวหนาลึก เป็นกระบือนมขนาดกลาง เต้านมมีขนาดใหญ่ได้สัดส่วน เพศเมียมีลักษณะการให้นมดีและสมบูรณ์พันธุ์ดี น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนักประมาณ 550 - 600กิโลกรัม เพศเมีย หนักประมาณ 400 - 450 กิโลกรัม ปริมาณการให้นมเฉลี่ย 7 - 8 ลิตร/วัน มีไขมัน 7 - 8 เปอร์เซ็นต์ และมีโปรตีนรวมแร่ธาตุต่างๆ ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาการให้นมประมาณ 300 วัน en_US
dc.description.abstract Education body weight and anatomy of buffalo milk in Ban Sileamnoi Community , Nongsano Sub – district , Nangrong District , Buriram Province. From 1 February 2018 to 30 April 2018. By studying the economy and the farmers of the buffalo milk. Raising buffalo milk. Weight study and anatomy of buffalo milk. Use of research tools. The research instrument was questionnaire interview and community. To study the economic and social status of dairy cattle farmers. Raising buffalo. Study on body weight and anatomy of buffalo milk. Farmers in Ban Sileamnoi Community , Nongsano Sub – district , Nangrong District , Buriram Province. By specific sampling bring length information (GIR). Assessment body weight (WT). From the formula of Wattana and Rujira (2557) where WT = -982.39 7.56 (GIR). Found that the basic characteristics of society. Farming and economic conditions of farmers. Status of dairy buffalo farmers majority of marital status. The age of most farmers aged 51to 60 years old. Followed by 41 to 50 years old. And most elementary education. Secondary is secondary. Mostly farming. Secondary is animal husbandry. Farmers raising buffaloes have household members 4 - 6 people. Most dairy farmers hold less than 20 plantation of land. Mostly private land. Farmers use dairy buffaloes from 1 to 2 households. Farmer Experience in Breeding Buffalo 2 - 3 Years. The cost of raising buffaloes per year is more than 10000 baht. Most of the money spent on raising buffaloes was spent on self and other money. The next is the village fund. The buffalo raising of the farmers. Most of the buffaloes were buffaloes single breed buffalo and buffalo milk and swamp buffalo. Farmers raise more than 6 hours a day. The stall outside the house . Farmers provide grassfeeding buffalo milk and cut fresh grass. Coarse feed for dairy buffaloes is mainly raised in public grasslands and the pastures of others. Water used for buffaloes uses natural water and groundwater. Farmers reserve roughage for buffalo needs. The anatomy is black or dark brown. May have white forehead and tail tip He has a curled appearance. Deep body. Medium sized buffalo milk. Breast size is large. Female to breastfeed and Completely good. Weight when mature. Male weight 550 - 600 kg. Female weight 400 - 450 kg. Average milk supply is 7 - 8 liters/day. 7 to 8 percent fat. And protein and minerals 9 percent. The milk time is about 300 days. en_US
dc.description.sponsorship Burirum Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การเลี้ยง , น้าหนักตัว , กายวิภาค , กระบือนม , บ้านสี่เหลี่ยมน้อย,The raising , Body Weight , Anatomy , Buffalo Milk , Ban Sileamnoi Community en_US
dc.title ส้ารวจการเลี้ยง นheหนักตัวและลักษณะทางกายวิภาคของ กระบือนมชุมชนบ้านสี่เหลี่ยมน้อย ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Survey the raising , Body Weight and Anatomy of Buffalo Milk in Ban Sileamnoi Community , Nongsano Sub – district , Nangrong District , Buriram Province. en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline เกษตรศาสตร์ en_US
dc.degree.level ปริญญาตรี en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรบัณฑิต (ว.ทบ.)สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ en_US
dc.contributor.emailauthor Catfish406@hotmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics