ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โครงการพัฒนาและบูรณาการแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ขวัญนภา, วงศ์ไพศาลสิริกุล
dc.date.accessioned 2017-12-01T09:11:41Z
dc.date.available 2017-12-01T09:11:41Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.citation - en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3331
dc.description.abstract หัวข้อวิจัย โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาและบูรณาการแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามบทบาท หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชุมเห็ด ตาบลชุมเห็ด อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัย นางสาวขวัญนภา วงศ์ไพศาลสิริกุล หน่วยงาน สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2555 บทคัดย่อ โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาและบูรณาการแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชุมเห็ด ตาบลชุมเห็ด อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ศักยภาพ ยุทธศาสตร์ การพัฒนา แนวทางการพัฒนาปัญหาและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ของเทศบาลเมืองชุมเห็ด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาท้องถิ่นด้านการให้บริการสาธารณะและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองชุมเห็ด ประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองชุมเห็ด และประเมินผลการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองชุมเห็ด ใน 3 ระดับ คือ ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีเก็บข้อมูลมี 2 ประเภท คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประชากร ได้แก่ ประชาชน 22 หมู่บ้าน จานวน 17,238 คน และผู้บริหารเทศบาลเมืองชุมเห็ดและพนักงานเจ้าหน้าที่ จานวน 70 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน 394 คน ผู้บริหารเทศบาลเมืองชุมเห็ดและพนักงานเจ้าหน้าที่ 8 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และตัวชี้วัดการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาท้องถิ่นด้านการให้บริการสาธารณะและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองชุมเห็ด พบว่า เทศบาลมียุทธศาสตร์การพัฒนา และแนวทางการพัฒนาในด้านการให้บริการสาธารณะและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามมาตรฐานของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 17 ด้าน ดังต่อไปนี้ ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการส่งเสริมกีฬา การดาเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการพัฒนาเด็กเล็กและเยาวชน ด้านการส่งเสริมการพัฒนาสตรี การพัฒนาและสงเคราะห์ผู้พิการ ด้านการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ด้านการดาเนินงานด้านเอดส์ ด้านสาธารณสุขมูลฐาน ด้านการจัดการศึกษาด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณีท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ด้านการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และด้านการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 2. ด้านความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองชุมเห็ด พบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รวม 17 ด้าน โดยมีความ พึงพอใจด้านการสงเคราะห์ผู้สูงอายุมากที่สุด อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาอาชีพ อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาบทบาทสตรี อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาและสงเคราะห์ผู้พิการ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการสาธารณสุขมูลฐาน อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดการการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการดูแลที่สาธารณประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมการกีฬา อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการดาเนินงานด้านเอดส์ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล อยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลาดับ 3. ด้านผลสัมฤทธิ์การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองชุมเห็ด ในระดับชุมชนและครัวเรือน พบว่า ประเด็นที่อยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 1 ประเด็น ดังนี้ ครัวเรือนที่มีน้าใช้เพียงพอตลอดปีเพิ่มขึ้น (81%) ประเด็นที่อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 9 ประเด็น ดังนี้ ครัวเรือนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้น (77%) คนที่เข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (72%) ครัวเรือนที่มีน้าดื่มเพียงพอตลอดปีเพิ่มขึ้น (72%) มีการจัดทาแผนและมีการนาเสนอแผนชุมชนสู่การปฏิบัติเพิ่มขึ้น (63%) อัตราการป่วยในหมู่บ้านลดลง (68%) อัตราคดีเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลดลง (72%) จานวนผู้ใช้ยาเสพติดทั้งหมดในหมู่บ้านลดลง (63%) ผู้สูงอายุ ผู้พิการและเด็กถูกทอดทิ้งลดลง (68%) ครัวเรือนที่มีพื้นที่มีน้าไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกลดลง (63%) ประเด็นที่อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย 7 ประเด็น คือ รายได้ทางการเกษตรของครัวเรือนในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น (54%) ครัวเรือนที่มีที่ดินทากินของตัวเองไม่ต้องเช่าเพิ่มขึ้น (59%) ครัวเรือนที่ใช้แหล่งสินเชื่อกลุ่มออมทรัพย์เพิ่มขึ้น (59%) ครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์กองทุนเพิ่มขึ้น (50%) อัตราผู้ไม่จบการศึกษาภาคบังคับลดลง (50%) ครัวเรือนที่ใช้แหล่งสินเชื่อพ่อค้าลดลง (59%) คนมีอายุ 15-60 ปีเต็ม และไม่มีการประกอบอาชีพและรายได้ลดลง (50%) ประเด็นที่อยู่ในระดับน้อย ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ รายได้ทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น (45%) ครัวเรือนทา การเกษตรปลอดสารพิษเพิ่มขึ้น (40%) หมู่บ้านมีอุตสาหกรรมครัวเรือนเพิ่มขึ้น (36%) ปราชญ์ผู้รู้ในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น (31%) ประเด็นที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ หมู่บ้านมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (18%) ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเพิ่มขึ้น (27%) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า เทศบาลเมืองชุมเห็ดมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการบริหารจัดการ 8 ด้าน ดังนี้ การจัดระบบข้อมูล การจัดข้อมูลสื่อสาร การจัดการระบบตัดสินใจ การบริหารจัดการระบบตรวจสอบถ่วงดุล การจัดการระบบการมีส่วนร่วม การจัดการระบบการให้บริการ และการจัดการระบบติดตามและประเมินผล en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University. en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject โครงการพัฒนาและบูรณาการแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.title โครงการพัฒนาและบูรณาการแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Development and Integration of Principle of Sufficiency Economy According to the Role of Local Government in Buriram Province : A Case Study of Chumhet Municipality, Chumhet Sub-District, Mueang District, Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor - en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics