ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การออกแบบลายผ้าทอพื้นบ้านจากต้นแบบลวดลายเรขศิลป์ 2 มิติจากลวดลาย ส่วนประดับของปราสาทขอมในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author สมบัติ, ประจญศานต์
dc.date.accessioned 2017-12-01T08:54:10Z
dc.date.available 2017-12-01T08:54:10Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3312
dc.description.abstract แนวคิดในการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งานและการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรมทาให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นคุณค่าของลวดลายส่วนประดับของปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่าที่งดงามสามารถนามาเป็นต้นแบบสู่การสร้างสรรค์ลวดลายเรขศิลป์ 2 มิติ ให้มีลักษณะร่วมสมัยเป็นสากลแต่คงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อทดลองนาลวดลายต้นแบบเรขาศิลป์ 2 มิติที่ออกแบบจากลวดลายส่วนประดับของปราสาทขอมที่สาคัญในจังหวัดบุรีรัมย์มาสู่การผลิตผ้าไหมมัดหมี่ติดตามผลการผลิตและศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ซึ่งผู้วิจัยทางานร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน 2 กลุ่มคือ กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองตาไก้ และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอาเภอนาโพธิ์ โดยทดลองการผลิตสินค้าตามลวดลายที่ออกแบบขึ้นจานวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าห่ม จานวน 8 แบบ ผู้วิจัยได้การติดตามผลผลิตภัณฑ์ผ้าที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับแบบที่ได้ออกแบบไว้ พบว่า ผู้ผลิตสามารถย้อมสีพื้นได้ตามแบบร้อยละ 50 ย้อมสีลายได้ตามแบบเพียงร้อยละ 37.50 และมัดหมี่ลายให้ยังคงรูปร่างและสัดส่วนของลายได้เพียงร้อยละ 25.00 และนาผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปสัมภาษณ์เจาะลึกด้านการมองเห็นผลิตภัณฑ์และด้านการยอมรับผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการบุรุษและสตรีอายุตั้งแต่ 25 ปีถึง 65 ปี จานวน 10 คน และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมบุรีรัมย์ จานวน 5 คน พบว่า เมื่อแรกเห็นผืนผ้ารู้สึกว่าลายมัดหมี่มีความแปลกตากว่าที่เคยพบเห็น ลวดลายมัดหมี่ในภาพรวมมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในระดับมาก แต่ยังสื่อถึงลวดลายส่วนประดับปราสาทขอมได้ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่าบางลายสื่อถึงลวดลายส่วนประดับปราสาทขอมได้ในระดับระดับมากที่สุด ผ้าที่ได้เหมาะสมสาหรับตกแต่งเคหะภัณฑ์ หากเป็นการนาผ้ามาตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกาย จะมีการพิจารณาถึงสีสันของผ้า และทิศทางของลวดลายที่มีผลกับอายุ สีผิว บุคลิกภาพและรูปร่างของผู้สวมใส่ประกอบการพิจารณาเสมอ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จะได้รับความสนใจจากตลาดในระดับมาก ควรจาหน่ายต่อความยาวเมตรในราคาเท่ากับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ ต่างจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเห็นว่าควรตั้งราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมในตลาดเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบใหม่และมีการจดลิขสิทธิ์ลวดลาย เมื่อผลิตเป็นสินค้าเหมาะสาหรับผู้ซื้อวัยทางาน ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี มีบุคลิกภูมิฐาน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ควรมีขั้นตอนการวิเคราะห์และกาหนดสีของเส้นยืนและเส้นพุ่งเพื่อให้เกิดการสอดประสานของสีไหมและทาให้เกิดความเงางามเหลื่อมพลาย ส่วนการออกแบบลวดลายนั้นด้วยข้อจากัดของเทคนิคมัดหมี่ที่มีพื้นฐานการสร้างลวดลายเสมือนตาตารางจึงเหมาะกับลวดลายที่เป็นเหลี่ยมมุม ไม่สามารถทาลวดลายที่มีความโค้งมนได้ง่ายนัก en_US
dc.description.abstract The concept of promoting the economic development is the creativity based on using the knowledge base, education, creative work, and using intellectual property connected with cultural base. It is true that the researcher has realized the value of beautifully decorated patterns of Prasat Phanomrung and Prasat Muengtum, which can be used as the model of creating the 2-dimension graphic patterns to be contemporary and universal characters without breaking the local identity. This research aimed to study and apply the 2-dimension graphic original patterns of Prasat Khom’s decorated patterns that are important in Buriram Province to mudmee silk production and to follow up and study consumers’ popularity of products. The reseacher also cooperated with two groups of community product producers; the former being Ban Nongtakai weaving women’s Group and the latter being Ban Napho local handicraft center. There were three products: mudmee silk, shawl and blanket, all of which were made for the samples of production according to the designed patterns and they were divided into eight models. Comparing with the designed patterns and following up the cloth products, the researcher found that producers could dye 50 % of foundation colors according to the designed patterns, 37.50% of pattern colors and only 25.00% of patterned mudmee silk remaining in shape and proportion of its patterns. Besides, there were indepth interviews of realizing and accepting the products of samples of ten consumers who are 25-65 year-old civil servant males and females and five experts of Buriram silk. It was obvious that when they saw cloth patterns, they felt that mudmee patterns were different as seen. As a whole, mudmee patterns were unique at ‘much’ level. However, they were related to Prasat Khom’s decorative patterns at ‘less’ level down to at ‘least’ level. On the other hand, most experts found that some patterns were related to Prasat Khom’s decorative patterns at ‘most’ level. Selected cloths were suitable for decorating housing wares. If it was used for clothing construction, it would be considered how ง cloth colors and patterns affected age, complexion, persanality and shape of those who are wearing. Most consumers thought that products which would be popular at ‘much’ level should be sold with the present price of products per length of meter. However, all experts thought that the products’prices should be set higher than in the market’s prices because of newly designed and products whose patterns got the copyright when the designed products were suitable for 40-60 year-old working people with elegant personality. From the suggestions of this research, there should be the analystical process and determination of a set of colors with long and weft lines in order to get harmoniously and smoothly inserted and connected and become shiny and glossy. On the other hand, the pattern designs with the technical limitation of mudmee based on making the patterns like the square were appropriate for an angle edged patterns and could not be easy to make the patterns look like round-bent shapes. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การออกแบบลายผ้าทอ en_US
dc.subject เรขศิลป์ 2 มิติ en_US
dc.title การออกแบบลายผ้าทอพื้นบ้านจากต้นแบบลวดลายเรขศิลป์ 2 มิติจากลวดลาย ส่วนประดับของปราสาทขอมในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Design of the local textile patterns from the 2-dimension graphic original pattern of Prasat Khom’s decorative patterns in Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor sombat_pra@yahoo.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics