ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลของธาตุอาหาร การขาดน้ำ และไมคอร์ไรซา ต่อปริมาณ ผลผลิตและสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตผักเชียงดา

Show simple item record

dc.contributor.author ศรีตนทิพย์, ปริญญาวดี
dc.contributor.author ณ พัทลุง, นิจพร
dc.contributor.author ศรีสมรรถการ, ภัทราภรณ์
dc.contributor.author พุทธวรชัย, พิทักษ์
dc.contributor.author ขันสุภา, นภา
dc.contributor.author เขาสุเมรุ, ยุทธนา
dc.contributor.author ศรีตนทิพย์, ชิติ
dc.date.accessioned 2017-10-19T08:23:27Z
dc.date.available 2017-10-19T08:23:27Z
dc.date.issued 2556-09
dc.identifier.citation รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3097
dc.description.abstract ผักเชียงดา (Gymnema inodorum Decne.) เป็นผักพื้นบ้านภาคเหนือที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะเพื่อบําบัดรักษาโรคภัยต่าง ๆ ใบมีฤทธิ์บรรเทาอาการต#อโรคเบาหวาน รูมาตอยด์และเกาต์ ยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ําตาลในลําไส้ สารสกัดจากใบช่วยทําให้นักกีฬาเกิดการพัฒนากล้ามเนื้อมากขึ้น การทดลองในครั้งนี้เพื่อศึกษาหาวิธีการเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระในผักเชียงดา โดยศึกษาผลของปริมาณธาตุอาหารในดิน ธาตุโบรอน การขาดน้ำ และไมคอร3ไรซา ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต สารต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในการผลิตผักเชียงดา ดําเนินการทดลองที่สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลําปาง ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงกันยายน พ.ศ. 2556 พบว่า ปริมาณธาตุอาหารในดินและในใบมีความแตกต่างกันทางสถิติตามพื้นที่ที่เก็บตัวอย่าง ถ้ามีปริมาณอินทรียวัตถุและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน3ในดิน ปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในใบสูง จะส่งผล ให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผักเชียงดาสูง การใส่สารละลายธาตุอาหาร 3 ระดับ (0B 30B100B) ไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางลําต้นและผลผลิตของผักเชียงดาทั้งสองสายต้น (4 และ 6) แต่แสดงอาการขาดโบรอนโดยพื้นที่ระหว่างเส้นใบมีสีเหลือง เมื่อใส่ธาตุโบรอนต่ํากว่าร้อยละ 30 สายต้นที่ 4 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสายต้นที่ 6 ถึงจะใส่โบรอนในปริมาณที่เท่ากัน การขาดน้ําเป็นระยะเวลา 15 วัน ไม่กระทบต่อการให้ผลผลิตในผักเชียงดาที่มีอายุต้น 5 - 12 เดือนหลังย้ายปลูก แต่การขาดน้ำเป็นระยะเวลา 2 เดือนทําให้ผลผลิตผักเชียงดาลดลงประมาณร้อยละ 50 มีความสัมพันธ3เชิงบวกระหว่างปริมาณคลอโรฟnลล3 สารประกอบฟีนอลิกและ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การเขาอยู่ของเชื้อราอาบัสคูล่า ไมคอร์ไรซา ชนิดต่าง ๆ ในผักเชียงดา พบว่า เชื้อ Glomus sp. 1 มีผลให้จํานวนยอดของผักเชียงดาสูงที่สุด ส#วนเชื้อ Acaulospora sp. มีผลให้ความยาวยอดของผักเชียงดาสูงสุด และ เชื้อ Glomus mosseae มีผลให้การเข้าอยู่ในต้นผักเชียงดาสูงที่สุด en_US
dc.description.sponsorship Rajamangala University of Technology Lanna en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ธาตุอาหาร ,การขาดน้ำ, ไมคอร์ไรซา สารต้านอนุมูลอิสระ ,ผักเชียงดา , Nutrient, Water stress, Antioxidant, Gymnema inodorum Decne en_US
dc.title ผลของธาตุอาหาร การขาดน้ำ และไมคอร์ไรซา ต่อปริมาณ ผลผลิตและสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตผักเชียงดา en_US
dc.title.alternative Effect of Nutrient, Water Stress and Mycorrhizal Fungi on Yield and Antioxidant Activity in Phak Chiangda (Gymnema inodorum Decne.) en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor nidchaporn@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics