ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียชุมชน ภายในเขตเทศบาลเมืองตาก

Show simple item record

dc.contributor.author อิสสริยา, มงคลพิทยาธร
dc.date.accessioned 2017-10-18T04:51:34Z
dc.date.available 2017-10-18T04:51:34Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3095
dc.description บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องแนวทางการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืนโดยการมี ส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองตาก การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการน้ำเสียของ ประชาชนภายในเขตเทศบาลเมืองตาก และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียภายในเขต เทศบาลเมืองตาก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยจำนวน 394 ตัวอย่าง ตามการคำนวณที่ได้จากสูตรของ Yamane การเก็บข้อมูลจะทำครอบคลุมพื้นที่เทศบาลเมืองตากเพื่อ เก็บข้อมูลดังนี้ 1.ข้อมูลลักษณะประชากรและความสัมพันธ์ในสังคม 2.ข้อมูลการใช้น้ำ การบำบัดน้ำ เสีย และการระบายน้ำทิ้ง 3.ข้อมูลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสีย 4.ข้อมูลความเข้าใจ และความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสีย โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการหาความสัมพันธ์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การจัดการน้ำเสียของ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองตาก มีการบำบัดด้วยบ่อเกรอะ-บ่อซึมแล้วระบายน้ำทิ้งออกสู่ธรรมชาติ โดยสถานการณ์ปัจจุบันประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเสีย ส่วนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดการน้ำเสียภายในเขตเทศบาลเมืองตากภาพรวมการมีส่วนร่วมมีจำนวนร้อยละ 75.10 แต่ลักษณะของการมีส่วนร่วมส่วนมากเป็นการร่วมรับรู้ข้อมูลซึ่งจัดอยู่ในระดับขั้นกลางตามการ แบ่งของ Arnstein (1995) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองตาก ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสาร การรับทราบสิทธิ์ในการเข้าร่วม ความสัมพันธ์ของครัวเรือนในสังคม การเคยเข้ามีส่วนร่วม และการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ดังนั้น การเสนอแนวทางการส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียจะต้องนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อให้การวางแผน รักษาและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียภายในเขตเทศบาลเมืองตากจนก่อ เกิดเป็นความยั่งยืนในการจัดการน้ำเสียในอนาคต โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1.การส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม การจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืน และการ ปฏิบัติงานบำบัดน้ำเสียของเทศบาลเมืองตาก 2.การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐและ ประชาชน โดยจัดกิจกรรมการสำรวจและรวบรวมข้อมูลชุมชน และการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 3. การสร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาคุณภาพน้ำในชุมชน โดยการอบรมชุมชนที่ได้รับ ผลกระทบโดยตรงเป็นเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงาน 4. การส่งเสริมให้ประชาชนร่วมบำบัดน้ำเสีย ณ แหล่งกำเนิดอย่างเหมาะสม โดยการสนับสนุนให้คำปรึกษาการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ณ แหล่งกำเนิดและการให้บริการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจัดการน้ำเสีย en_US
dc.subject การมีส่วนร่วมของประชาชน en_US
dc.subject เทศบาลเมืองตาก en_US
dc.subject Domestic Wastewater Management en_US
dc.subject Public Participation en_US
dc.subject Tak Municipality en_US
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียชุมชน ภายในเขตเทศบาลเมืองตาก en_US
dc.title.alternative FACTORS EFFECTING THE PUBLIC PARTICIPATION OF DOMESTIC WASTEWATER MANAGEMENT IN TAK MUNICIPALITY, TAK PROVINCE. en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics