ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดบุรีรัมย์โดยกระบวนการมีส่วนร่วม

Show simple item record

dc.contributor.author ดำรง, กิตติชัยศรี
dc.date.accessioned 2017-10-18T02:31:40Z
dc.date.available 2017-10-18T02:31:40Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3009
dc.description บทคัดย่อ ความยากจนเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การเลี้ยงสุกร พื้นเมืองเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรที่มีรายได้น้อย อย่างไรก็ดีรูปแบบยังไม่เหมาะสมทำให้การ เลี้ยงลดลง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเศรษฐกิจวัฒนธรรมของการเลี้ยงสุกรพื้นเมือง เพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยงเดิม และเพื่อพัฒนารูปแบบการเลี้ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ เน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรซึ่งเลือก เจาะจงจากบ้านหนองโก ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือวิจัยคือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การจัดเวทีร่วมมือ และการศึกษาดูงาน ตรวจสอบคุณภาพ เครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า บริบทเศรษฐกิจวัฒนธรรมที่สำคัญด้านบวกได้แก่ สภาพแวดล้อมใน หมู่บ้านมีพืชอาหารสัตว์หลายชนิด อยู่ใกล้โรงงานปลาร้าและตลาดสด มีโรงสีเล็กสองโรง บางราย ปลูกมันสำปะหลัง ชาวบ้านมีอัธยาศัยดี พร้อมรับความรู้ใหม่ๆ มีขนบธรรมเนียมการเชื่อฟังผู้สูงอายุ มีวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำนาและทำบุญตลอดปี บริบทที่สำคัญในด้านลบคือ การ เป็นหมู่บ้านตั้งใหม่มีงบพัฒนาน้อย รูปแบบการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองเดิมมีผลต่อการพัฒนาด้านบวกได้แก่ ทัศนคติที่ว่า เลี้ยง ง่าย ลงทุนน้อย เพื่อเป็นอาหารและขาย ผลกระทบด้านลบได้แก่ การให้อาหารไม่ตรงกับความ ต้องการของสุกร ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ ไม่ทำวัคซีน ไม่ถ่ายพยาธิ โตช้า และราคาขายถูก การเลี้ยง จึงลดลง รูปแบบการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองที่พัฒนาคือ จัดตั้งกลุ่มจดทะเบียน สมาชิกมีคุณสมบัติตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงสุกรเพื่อบริโภค ขาย และได้ปุ๋ยคอกเป็นผลพลอยได้ ใช้พันธุ์ผสม ใช้คอกหลุม แต่ละรายมีสุกรหนึ่งหรือสองแม่และสุกรขุนสามตัว พ่อพันธุ์ใช้ร่วมกัน หลีกเลี่ยง การผสมเลือดชิด อาหารสุกรใช้รำ กระถินแห้ง มันเส้น ไส้ปลาหมัก และเกลือ สุกรขุนใช้โปรตีน ร้อยละ 10-12 แม่พันธุ์ใช้โปรตีนร้อยละ 9-10 ให้วัคซีนอหิวาต์สุกร และถ่ายพยาธิ กรณีมีผลผลิต มากให้สมาชิกร่วมกันวางแผนการตลาด สร้างเครือข่ายกับกลุ่มอื่นๆ ประสานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สุกรพื้นเมือง เศรษฐกิจพอเพียง การมีส่วนร่วม en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดบุรีรัมย์โดยกระบวนการมีส่วนร่วม en_US
dc.title.alternative DEVELOPMENT OF A MODEL OF NATIVE PIG RAISING BASED ON SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY OF SMALL FARM-HOLDERS IN BURIRAM PROVINCE BY THE PARTICIPATORY APPROACH en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics