ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การออกแบบและสร้างเครื่องมัดหมี่เส้นยืน

Show simple item record

dc.contributor.author จารุณี, ชัยโชติอนันต์
dc.date.accessioned 2017-10-16T03:28:14Z
dc.date.available 2017-10-16T03:28:14Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2986
dc.description บทคัดย่อ โครงการวิจัยเรื่องการออกแบบและสร้างเครื่องมัดหมี่เส้นยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและ สร้างเครื่องมัดหมี่เส้นยืนให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะกับการเก็บในพื้นที่ทำงาน สามารถค้นและขึงลำหมี่ เส้นยืนให้ได้ความยาวมากกว่า 10 เมตรและสามารถวัดกะลายมัดหมี่ได้ตรงตามแบบลาย (pattern) ที่ กำหนดไว้ นักวิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินงานไว้ 3 ขั้นตอน คือ 1.) วิเคราะห์กระบวนการการมัดหมี่ เส้นยืน 2.) ออกแบบและสร้างเครื่องมัดหมี่เส้นยืน และ 3.) ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง มัดหมี่เส้นยืน ผลการวิจัยพบว่า 1.) กระบวนการมัดหมี่เส้นยืนของศูนย์ หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนา โพธิ์ ทำได้โดยการขึงลำหมี่บนพื้นตลอดความยาวของเส้นยืน ด้วยการมัดหัวหมี่ทั้งสองด้านกับเสาที่ มั่นคงแข็งแรงขึงให้ตึง มีท่อพีวีซีตอกตะปูเรียงชิดกันคล้ายฟันหวีสำหรับรองและแยกลำหมี่เป็นระยะ ๆ อยู่ 3 ช่วง กระบวนการและอุปกรณ์ดังกล่าวใช้มัดหมี่ได้ครั้ง ละ 5 – 10 เมตร ใช้แรงงานในการมัดลาย 2 -10 คน เวลา 3-7 วัน ปัญหาที่พบคือ ความไม่สะดวกในการทำงาน เส้นด้ายหย่อนตกท้องช้างเป็นระยะ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำหนดระยะลายหมี่ การย้อมหมี่ การสืบหูก และการทอผ้าในที่สุด 2.) ออกแบบเครื่องมัดหมี่เส้นยืนที่สามารถที่มัดลายได้ช่วงละ 2.50 เมตร กะและมัดลายได้ตรงตามแบบ ขึง ลำหมี่ได้ความยาวตามต้องการ ประหยัดพื้นที่ในการเก็บในที่ทำงาน และสอดคล้องกับพฤติกรรมการ มัดหมี่ของสมาชิกศูนย์ ฯ 3.) โครงสร้างเครื่องมัดหมี่เส้นยืนต้นแบบทำด้วยเหล็ก 1 ชุด มี 2 ชิ้น ติด ล้อเลื่อนที่สามารถล้อคให้ติดต่อเป็นเครื่องเดียวกันได้ ขนาดของเครื่องมือเมื่อประกอบเป็นชิ้นเดียวเพื่อ ใช้มัดหมี่เท่ากับ 2.50 x 0.95 x 0.75 เมตร สามารถแยกเครื่องมือออกเป็น 2 ชิ้นเพื่อใช้ขึงหมี่ในช่วงแรก ให้ได้ความยาวตามต้องการก่อนการม้วนเก็บลำหมี่ไว้ที่แกนม้วนลำหมี่ มีแกนม้วนลำหมี่ที่หัว-ท้าย เครื่องมัดหมี่ทั้งสองด้าน คลาย และขึงลำหมี่ให้ตึงตามต้องการด้วยการใช้กลอนล้อคที่แกนม้วนลำหมี่ 4.) การทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานพบว่า ขนาดของเครื่องมือความเหมาะกับการใช้มัดหมี่เส้น ยืน สามารถในการเก็บในพื้นที่ทำงานได้ ปรับเปลี่ยนระยะขึงและความยาวของเครือหมี่ได้ตามต้องการ โครงสร้างมีความแข็งแรง มัดหมี่เส้นยืนให้ได้ความยาว5 -30 เมตร มีความเที่ยงตรงในการ วัด กะ และ มัดลายหมี่ได้ตามต้องการ ส่วนในเรื่องของจำนวนคนมัดลายในการมัดลายคงเดิม และพบว่าสมาชิก ศูนย์ฯ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การออกแบบ การสร้างเครื่องมือ เครื่องมัดหมี่เส้นยืน en_US
dc.subject Designing en_US
dc.subject Construction en_US
dc.subject Wrap Ikat tool en_US
dc.title การออกแบบและสร้างเครื่องมัดหมี่เส้นยืน en_US
dc.title.alternative Designing and Construction of the Wrap Ikat Tool en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics