ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลของสภาพการนำไฟฟ้าจากการเติมกากขี้แป้งน้ำยางข้นเป็นแหล่งธาตุอาหาร ต่อการเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันระยะอนุบาลแรก

Show simple item record

dc.contributor.author คณาวุฒิ, อินทร์แก้ว
dc.date.accessioned 2017-10-16T03:14:26Z
dc.date.available 2017-10-16T03:14:26Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2983
dc.description บทคัดย่อ ศึกษาผลของสภาพการนำไฟฟ้าจากการเติมกากขี้แป้งเป็นแหล่งธาตุอาหารต่อการเติบโต ของต้นกล้าปาล์มน้ำมันระยะอนุบาลแรก โดย วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ทำ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ชุดควบคุม (ดินเดิม) ชุดเติมปุ๋ยเคมี และชุดเติมกากขี้แป้งอัตรา 10, 30, 50, 70 และ 90 กรัม/ดิน 1 กิโลกรัม ผลการศึกษา พบว่า กากขี้แป้งมี pH 6.46 มีค่าการนำไฟฟ้า 7.84 mS/cm มีปริมาณ อินทรียวัตถุ 2.2% และมีปริมาณธาตุอาหาร คือ Total N 4.3% P2O5 10% K2O 0.7% และ MgO 8.9% การเติมกากขี้แป้งส่งผลให้ดินมีสภาพการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการสะสมธาตุอาหาร (P2O5, K2O, MgO) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) การเติมกากขี้แป้งในอัตรา 10 และ30 กรัม/ดิน 1 กิโลกรัม ส่งผลให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันระยะอนุบาลแรก (3 เดือน) มีการเติบโตด้านจำนวนใบ ความ กว้างและความยาวใบ ขนาดลำต้น และความสูง เทียบเท่ากับการเติมปุ๋ยเคมี ขณะที่การเติมกากขี้แป้ง ในอัตราที่สูงขึ้น คือ 50, 70 และ 90 กรัม/ดิน 1 กิโลกรัม กลับมีผลทำให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันมีการ เติบโตน้อยกว่าการเติมปุ๋ยเคมีและการเติมกากขี้แป้งในอัตรา 10 และ 30 กรัม/ดิน 1 กิโลกรัม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพการนำไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น กล่าวได้ว่ากากขี้แป้งสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารของต้นกล้าปาล์ม น้ำมันระยะอนุบาลแรกได้ แต่ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม (น้อยกว่า 30 กรัม/ดิน 1 กิโลกรัม) เนื่องจากปัจจัยจำกัดด้านสภาพการนำไฟฟ้า ที่อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของต้นกล้า ปาล์มน้ำมัน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กากขี้แป้ง en_US
dc.subject ปาล์มน้ำมัน en_US
dc.subject แหล่งธาตุอาหาร en_US
dc.subject สภาพการนำไฟฟ้า en_US
dc.subject Electrical Conductivity en_US
dc.subject Latex Sludge en_US
dc.subject Nutrient Sources en_US
dc.subject Oil Palm en_US
dc.title ผลของสภาพการนำไฟฟ้าจากการเติมกากขี้แป้งน้ำยางข้นเป็นแหล่งธาตุอาหาร ต่อการเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันระยะอนุบาลแรก en_US
dc.title.alternative EFFECT OF ELECTRICAL CONDUCTIVITY LEVEL FROM PARA RUBBER LATEX SLUDGE AS NUTRIENTS SOURCE ON GROWTH OF OIL PALM SEEDLINGS AT PRE-NURSERY STAGE en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics