ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบศิลปะและคติความเชื่อในงานเครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมเขมรในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author กฤษฎา, พิณศรี
dc.date.accessioned 2017-10-16T03:00:53Z
dc.date.available 2017-10-16T03:00:53Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2975
dc.description บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางศิลปะและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ทางด้านรูปแบบศิลปกรรมและประติมานวิทยาหรือคติความเชื่อในงานเครื่องปั้นดินเผาที่สร้างขึ้นเนื่อง ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยวิธีการเปรียบเทียบทั้งทางตรง คือ การศึกษาเปรียบเทียบกับ เครื่องปั้นดินเผาและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้อง และทางอ้อม คือ การศึกษาเปรียบเทียบกับภาพจำหลัก เครื่องปั้นดินเผาที่มักพบในโบราณสถานต่าง ๆ ผลจากการศึกษาด้านรูปแบบศิลปะพบว่า เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมเขมรส่วนใหญ่ผลิตขึ้น ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15-18 และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยห้าราชวงศ์ และสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนั้น ยังมีรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาใน วัฒนธรรมอื่น ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาอินเดีย โดยเฉพาะภาชนะประเภทหม้อน้ำที่มีลักษณะคล้ายกันกับ หม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของอินเดียที่เรียกว่า “กมัณฑลุ” และ “กลศ” ซึ่งเป็นหม้อน้ำที่ใช้ในพิธีกรรมทาง ศาสนา และเครื่องปั้นดินเผาที่ปรากฏในภาพสลักศิลปะชวา โดยเฉพาะภาชนะประเภทไห (หรือ แจกัน) ใส่ดอกไม้ ที่เรียกกันว่า “ไหเท้าช้าง” สำหรับการศึกษาทางด้านประติมานวิทยา ได้พบ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกับความหมายทางประติมานวิทยาทั้งที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนานิกาย มหายานตันตระและศาสนาฮินดู โดยสามารถจำแนกเครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมเขมรออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนประกอบสถาปัตยกรรม ประติมากรรมทางศาสนา และภาชนะเครื่องใช้สอย เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้โดยมากมักมีลักษณะรูปทรงและลวดลายประดับตกแต่งที่ค่อนข้างโดดเด่นเป็น เอกลักษณ์ ทั้งที่ทำเป็นรูปบุคคล รูปสัตว์ หรือรูปทรงอื่น ๆ ซึ่งสามารถสื่อให้เห็นความหมายในเชิงประ ติมานวิทยาที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมทางศาสนาทั้งในพุทธศาสนานิกาย มหายานตันตระและศาสนาฮินดู ทำให้เชื่อว่าเครื่องถ้วยเหล่านี้คงมีวัตถุประสงค์ในการผลิตเพื่อใช้เป็น เครื่องประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมของราชสำนัก รวมทั้งเป็นเครื่องใช้สอยของนักบวช หรือเครื่องแสดงฐานะทางสังคมของชนชั้นสูงมากกว่าเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนสำหรับประชาชน ทั่วไป en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject เครื่องปั้นดินเผา เครื่องถ้วยเขมร คติความเชื่อ ประติมานวิทยา en_US
dc.title รูปแบบศิลปะและคติความเชื่อในงานเครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมเขมรในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative ART STYLES AND BELIEFS IN KHMER-CULTURE CERAMICS IN THAILAND en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics