ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

อิทธิพลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากไส้เดือนดิน ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางฟิสิกส์ดินและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน

Show simple item record

dc.contributor.author อารักษณ์ธรรม, สุลีลัก
dc.contributor.author สานุสันต์, สุชาดา
dc.date.accessioned 2017-10-11T05:11:05Z
dc.date.available 2017-10-11T05:11:05Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.citation รายงานผลการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2557 en_US
dc.identifier.other มจ.1-56-019.4
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2963
dc.description.abstract การศึกษาผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับการฉีดน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมมะลิ 105 ทำการทดลองที่แปลงนาเกษตรกรในเขตพื้นที่นาอาศัยน้ำฝน ชุดดินร้อยเอ็ด ที่บ้านบัวต.บ้านบัว อ. เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ระหว่างเดือน มิ.ย. –ธ.ค. พ.ศ. 2556 วางแผนการทดลองแบบRandomized Complete Block Design จำนวน 4 ซ้ำ ขนาดแปลงย่อย 4×6 เมตร มี 6 กรรมวิธี คือ 1) ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว 2) ปุ๋ยหมักมูลโค อัตราส่วน 1,000 ก.ก. ต่อไร่ 3) ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน อัตราส่วน 1,000 ก.ก. ต่อไร่ 4) ปุ๋ยเคมี ร่วมกับการฉีดน้ำหมักชีวภาพ 5) ปุ๋ยหมักมูลโค ในอัตราส่วน 1,000 ก.ก. ต่อไร่ ร่วมกับการฉีดน้ำหมักชีวภาพ และ 6) ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ในอัตราส่วน 1,000 ก.ก. ต่อไร่ ร่วมกับการฉีดน้ำหมักมูลไส้เดือนผลการทดลอง พบว่า ที่ระดับความลึกดิน 15-30 ซม. การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวมีแนวโน้มให้ความหนาแน่นรวมสูงสุด (1.38 ก./ซม-3) รองลงมา ได้แก่ การใส่ปุ๋ยหมักมูลโค ร่วมกับการฉีดน้ำหมักชีวภาพ และการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดน้ำหมักมูลไส้เดือน มีค่าความหนาแน่นรวม 1.41 และ 1.40ก./ซม-3 ตามลำดับ ส่ วนความชื้นของดิน (%) และค่าสัมประสิทธ์ิการนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำการใส่ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มให้ความชื้นของดิน (%) และค่าสัมประสิทธ์ิการนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ ต่ำสุด(0.25% และ 2.10 ซม./ชม.-1) ส่วนการใส่ปุ๋ยหมักมูลโค และการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ที่ระดับความลึกดิน 0-15 ซม. ให้ค่าสัมประสิทธ์ิการนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ มากที่สุด 2.37 และ 2.77 ซม./ชม.-1ตามลำดับผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ 105 พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับการฉีดน้ำหมักมูลไส้เดือน มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง 4,604 และ4,548 ก.ก./เฮกตาร์ ตามลำดับ และเพิ่มจำนวนหน่อต่อตารางเมตร ได้สูง 287 และ 276 หน่อ/ตารางเมตรตามลำดับ ดังนั้น การใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ร่วมกับการฉีดน้ำหมัก สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมี และยังสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและปรับปรุงสภาพโครงสร้างของดินดีได้อีกด้วย en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ไส้เดือนดิน, ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน, สมบัติทางฟิสิกส์ดิน, โครงสร้างของดิน,Earthworms, Vermicompost, Soil physical properties., Soil structure en_US
dc.title อิทธิพลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากไส้เดือนดิน ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางฟิสิกส์ดินและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน en_US
dc.title.alternative Effects of a Vermicomposts from Earthworms on Changes of Soil Physical Properties and Improve Soil Structure en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor sanusan@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics