ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนากระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์ สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Show simple item record

dc.contributor.author สมสุข, แสงปราบ
dc.date.accessioned 2017-10-09T07:56:30Z
dc.date.available 2017-10-09T07:56:30Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4" en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2909
dc.description การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อวัดพฤติกรรมกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนตาม ขั้นตอน 5 Es (Inquiry Cycle) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนที่ได้รับการสอนกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจ ในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /9 โรงเรียนนางรอง อำเภอ นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ชุด สถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบวัดพฤติกรรมกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 Es แบบวัด ภาพรวมความสามารถในการคิด แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการ ทดสอบสมมติฐานของร้อยละคะแนนหลังเรียนและร้อยละของเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยใช้ค่าที (t- test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70.30 จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนคิดเป็น ร้อยละ 70 มีจำนวน 29 คน จากจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 69.05 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การ ผ่านที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 70 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. จำนวนนักเรียนมีพฤติกรรมกระบวนการคิดสืบเสาะหาความรู้ 5 Es ในทุกชุด สถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีภาพรวมผ่านมากกว่าระดับ 3 ขึ้นไป มีค่าเท่ากับ 88.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการสอนกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์ สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับ มาก คิดเป็นร้อยละ 85.40 และจำนวนนักเรียนที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ถึงมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กระบวนการคิด en_US
dc.subject สืบเสาะหาความรู้ en_US
dc.title การพัฒนากระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์ สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics