ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโนนใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.author ณรงค์, ฝุ่นมะนาว
dc.date.accessioned 2017-10-09T06:54:50Z
dc.date.available 2017-10-09T06:54:50Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4" en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2862
dc.description การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนร่วม และ สร้างรูปแบบการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนบ้านโนนใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 3 เพื่อให้ได้ตามกรอบมาตรฐาน 4 ด้าน โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 5 กลุ่ม คือผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน 7 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน ผู้ปกครองเด็กนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม 20 คนและผู้ปกครองเด็กปกติ 20 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน แล้ว จัดประชุมสนทนาเพื่อร่วมสร้างรูปแบบการจัดการเรียนร่วม นำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วนำมา อภิปรายผลเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาด้านปัจจัย โรงเรียนบ้านโนนใหญ่ มีความพร้อมในเรื่องของ อาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมมีแหล่งเรียนรู้ มีการเตรียมสื่อ บริการไว้ ผู้บริหาร ครู ชุมชนมี เจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนร่วม มีครูที่จบการศึกษาพิเศษโดยตรง และครูในโรงเรียนทุกคน ผ่านการอบรมการศึกษาพิเศษ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนที่มี ความต้องการพิเศษ ผู้ปกครองนักเรียนปกติ และชุมชน ได้รับทราบถึงนโยบายการจัดเรียนร่วม มีปัญหาในส่วนของครูไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ครูไม่ครบชั้นเรียน ครูมีภาระงานมาก งบประมาณไม่เพียงพอ ลดจำนวนลงทุกปี แต่ภาระงานจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนไม่ได้ลดตาม จึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง 2. สภาพและปัญหาด้านกระบวนการบริหาร โรงเรียนได้กำหนดนโยบายการจัดการ เรียนร่วมไว้อย่างชัดเจนมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ มีแผนปฏิบัติการประจำปี มีการ รายงานผลประจำปี การบริหารส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร และครู ในส่วนของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน รับทราบนโยบายและพร้อม จะให้ความร่วมมือ เรื่องการบริหารจัดการมอบให้ผู้บริหารเป็นผู้จัดการและดำเนินการ ส่วน ปัญหาที่พบโรงเรียนยังขาดประชาสัมพันธ์และเปิดโอกาสให้ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารอย่างแท้จริง เป็นเพียงผู้รับทราบนโยบาย ของโรงเรียน และชุมชนยังมีความคิดที่ว่าการบริหารต้องเป็นเรื่องของผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว 3. สภาพและปัญหาด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีจำนวนครูไม่ครบชั้น ครู แต่ละคนมีภาระงานมาก การจัดการเรียนการสอนจะเน้นการสอนเสริมนอกเวลาเรียน นักเรียนมี แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) การสอนครูทุกคนจะเน้นทักษะพื้นฐาน ทักษะทาง สังคม ทักษะทางด้านอาชีพ และทักษะวิชาการ ส่งเสริมให้เด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ โรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้นตามศักยภาพ โรงเรียนยังขาดสื่อ บริการ ที่เหมาะสม ไม่ เพียงพอต่อการเสริมทักษะทางวิชาการของเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชนยังมีความคิดว่าการจัดการ เรียนการสอนเป็นหน้าที่ของครูเพียงฝ่ายเดียว ตัวเองไม่มีความรู้ ไม่สามารถสอนบุตรหลานได้ ไม่มีเวลา และยังขาดการกระตุ้นยั่วยุ ให้บุตรหลานมีความกระตือรือร้นในเรื่องการเรียน 4. สภาพและปัญหาด้านคุณภาพนักเรียน มีการวัดผลด้านการเรียนของเด็กพิเศษ เรียนร่วมในแต่ละวิชา ครูประจำชั้นและครูสอนเสริมร่วมกันประเมิน ด้านพฤติกรรม และ พัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน มีการปรับเนื้อหาให้เหมาะสมตามศักยภาพผู้เรียน ทุกคนมี พัฒนาการดีขึ้น มีแฟ้มสะสมงานเรียนเสริม ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากทางโรงเรียนอย่างดี ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อพัฒนาการของนักเรียน แต่ยังมีปัญหาเรื่องผลสัมฤทธิ์ ทางการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนบางคนที่ยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่เขียนไว้ ในส่วนรูปแบบการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนบ้านโนนใหญ่ ดังนี้ ด้านปัจจัย จัดให้มีห้องสอนเสริมวิชาการเฉพาะ มีบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ ด้านการศึกษาพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบงาน ส่งเสริมให้ความรู้สร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนทุกปีการศึกษา ด้านกระบวนการบริหาร จัดตั้งกลุ่มผู้ปกครองเด็กพิเศษเรียนร่วมแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดการเรียนร่วมประจำโรงเรียน เพื่อร่วมวางแนวทางและพัฒนา รับการนิเทศงาน เรียนร่วมจากศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดทุกภาคเรียน นำเสนอผลงาน ข้อมูลข่าวสารให้ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนได้ทราบเป็นระยะ มีการคัดกรองเด็กทุกปี จัดหาสื่อ บริการ สิ่ง อำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ปรับเนื้อหาหลักสูตรให้เหมาะสมกับเด็กที่มี ความต้องการพิเศษเรียนร่วม มีแผนการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลโดยการจัดทำแผนการ ศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการจัดการเรียนรู้ (IIP) จัดตารางสอนเสริม วันที่สอนเสริมให้ แน่นอน ประสานความร่วมระหว่างครูผู้สอนกับผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนพร้อมทั้ง ส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรมและสอนเสริมเด็ก ด้านคุณภาพนักเรียน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (IIP)ให้สอดคล้องกับแผนการ ศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ให้มีแฟ้มสะสมงานการเข้าเรียนเสริมวิชาการทุกคนเพื่อใช้ ประกอบการวัดผลประเมินผล การวัดประเมินผลของผู้เรียนต้องวัดทุกด้าน การอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถภาพร่างกายตามศักยภาพของแต่ละคน มีการ ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ชุมชน บุคลากรในโรงเรียน และนักเรียน ทุกปีการศึกษา en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจัดการเรียนร่วม en_US
dc.title การจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโนนใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics