ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยการใช้การจัดการความรู้ กรณีศึกษา: กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author สว่างทัพ, จรัส
dc.date.accessioned 2017-10-01T04:11:43Z
dc.date.available 2017-10-01T04:11:43Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.citation Agricultural Sci. J. 44 : 1 (Suppl.) : 387-390 (2013) en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2693
dc.description.abstract การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยการใช้การจัดการความรู้ กรณีศึกษา:กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็ นการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยวิธีการจัดการความรู้ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาการของการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ดัชนีชี้วัดในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอ ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 12 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกต การอภิปรายกลุ่มและการจัดการความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อ หาและการใช้แผนที่ความคิด ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ใช้แรงงานเฉลี่ย 3 คนประกอบทำนาทำไร่เป็นอาชีพหลักและเป็นอาชีพหลักที่ทำรายได้สูงสุด เลี้ยงโคเป็นอาชีพรองอันดับหนึ่ง และรับจ้างเป็นอาชีพรอง อันดับสอง มีรายได้ต่อคนต่อปี เฉลี่ย 45,972.84 บาท มีรายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อ ต่อปี เฉลี่ย 19,750.00 บาท ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ พบว่า สมาชิกร้อยละ 75 ได้เข้าร่วมอบรม สมาชิกกลุ่มเข้าใจการใช้ชีวิตพอเพียงระดับมากและมากที่สุดร้อยละ 66.7 เกษตรกรสมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ได้ดำเนินชีวิตพอเพียงมาแล้ว 1-3 ปี และร้อยละ 50 พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีระดับมาก การพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ จากข้อมูลบริบท ข้อมูลปัญหา-อุปสรรคและความต้องการของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ โดยวิธีการจัดการความรู้ ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการปรับปรุงพันธ์ุ ด้านอาหาร ด้านการจัดการและด้านการตลาด เช่น การอบรมให้ความรู้ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสนับสนุนด้านนำ\ เชือ\ และเมล็ดพันธ์ุพืชอาหารสัตว์ และการติดตามผล กลุ่มผู้เลี้ยงโคระบุยืนยันระดับขั้นสถานภาพปัจจุบัน และระดับขั้นในอนาคตที่กลุ่มมุ่งหวังจะพัฒนาในช่วง 1 ปี ข้างหน้าจากบันไดความรู้ 5ขั้นของการพัฒนาการเลีี้ยงโคเนื้อ การพัฒนาการของประกอบอาชีพของการเลี้ยงโคเนื้อ 4 ด้านเกี่ยวกับระดับบันไดความรู้ 5 ขั้นเมื่อดำเนินโครงการวิจัยได้ 1 ปี พบว่ากลุ่มบ้านสี่เหลี่ยมเจริญมีการพัฒนาบรรลุระดับที่มุ่งหวังทุกด้าน ส่งผลให้กลุ่มบ้านสี่เหลี่ยม เจริญได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นกลุ่มต้นแบบของกลุ่มอาชีพขนาดเล็ก กลุ่มบ้านสี่เหลี่ยมเจริญมีทักษะปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงโคเนื้อในด้านการปรับปรุงพันธ์ุ ด้านอาหาร ด้านการจัดการและด้านการตลาด ผลลัพธ์และตัวชี้วัดเฉพาะของการพัฒนาในแต่ละด้าน พบว่าด้านการปรับปรุงพันธ์ุ จำนวนโคเมียที่เข้าสู่โครงการวิจัย จำนวนโคเมียที่ได้รับการผสมเทียม และจำนวนลูกโคที่เกิดบรรลุเป้าหมายของโครงการ ด้านอาหาร จำนวนแปลงหญ้าและการเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์และฟางข้าวบรรลุเป้าของโครงการ ด้านการจัดการ มีคะแนนรูปร่างโคเมีย การให้วัคซีนและการถ่ายพยาธิ บรรลุเป้าหมายของโครงการ ส่วนด้านการตลาดตัวชี้วัดดการพัฒนายังไม่บรรลุเป้าหมายของโครงการ เพราะลูกโคผลผลิตของโครงการวิจัยยังมีอายุน้อย ไม่ถึงเกณฑ์ส่งตลาด จึงมีข้อมูลจำนวนโคเข้าสู่ตลาดน้อย ไม่มีการสร้างตลาดโคขุนในท้องถิ่น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject beef fattening cattle raising career, sufficiency economy, knowledge management,การประกอบอาชีพการเลี้ยงโคขุน, เศรษฐกิจพอเพียง, การจัดการความรู้ en_US
dc.title การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยการใช้การจัดการความรู้ กรณีศึกษา: กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Study on the development of beef fattening cattle raising career on sufficiency economy management by knowledge management procedure case study: beef fattening cattle Raising Group of Ban Siliam Charoen, Salangpan Subdistrict, Lam Plai Mat District in Buriram Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor rasjaroussawangtap@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics