ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูในกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาประโคนชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author ชัชวาล, มุ่งเอื้อมกลาง
dc.date.accessioned 2017-09-27T08:45:24Z
dc.date.available 2017-09-27T08:45:24Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation บทความฉบับเต็ม ภาคโปสเตอร์ การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2517
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาทัศนะของครูในกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาประ โคนชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต2 ที่มีต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และ2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของครูในกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาประโคนชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาบุรีรัมย์เขต2 ที่มีต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประเภทของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการ ศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครู 14 โรงเรียน จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ(Check Lists ) แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ และแบบ ปลายเปิด (Open Form) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนะของครูในกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาประโคนชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 ที่มีต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 8 ด้าน คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์และสังเคราะห์ การสื่อสารและการจูงใจ การพัฒนา ศักยภาพบุคลากร การมีวิสัยทัศน์ โดยรวม มีสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบ ทัศนะของครูในกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาประโคนชัย 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมและรายด้าน พบว่าโรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียน ประถมศึกษา มีทัศนะแตกต่างกัน โดยโรงเรียนขยายโอกาสมีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือ โรงเรียนประถมศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 2.1 ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยรวมพบว่าสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยโรงเรียนขยายโอกาสมีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือ โรงเรียนประถมศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 2.2 ด้านการบริการที่ดี โดยรวม พบว่าสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน โดย โรงเรียนประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือ โรงเรียนขยายโอกาส และ โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 2.3 ด้านการพัฒนาตนเอง โดยรวมพบว่าสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยโรงเรียนประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือ โรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ2.4 ด้านการทำงานเป็นทีม โดยรวมพบว่าสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน โดยโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือ โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 2.5 ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยรวม พบว่าสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน โดยโรงเรียนขยายโอกาสมีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือ โรงเรียน ประถมศึกษา และ โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 2.6 ด้านการสื่อสารและการจูงใจ โดยรวมพบว่าสมรรถนะทางการบริหารของ ผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน โดยโรงเรียนขยายโอกาสมีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือโรงเรียน ประถมศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 2.7 ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร พบว่าสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่ แตกต่างกัน โดยโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากัน รองลงมาคือโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 2.8 ด้านการมีวิสัยทัศน์ โดยรวมพบว่าสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน โดย โรงเรียนขยายโอกาสมีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมาคือโรงเรียนประถมศึกษา และ โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามลำดับ 3. ข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนของครูในกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาประโคนชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 คือ ผู้บริหารควรมีการวางแผนและ ติดตามการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ กำหนดทิศทางในการพัฒนาโรงเรียนที่ชัดเจน พัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี สร้างปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ รับฟังความคิดเห็น มีอัธยาศัยที่ดี ประชุมร่วมกับ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโรงเรียนสู่ชุมชน ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม ศึกษาดู งาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนต่อไป en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were :1 ) to study the perception of teachers in the educational development network Prakhonchai 2 towards the administrative competency of school administrators; and 2) to compare the perception of teachers in the educational development network Prakhonchai 2 towards the administrative competency of school administrators , classified by types of school. The sampleswere all 153 teachers from 14 schools. The research instrument was a 3- part questionnaire, including check list, 5- rating scale and openform with the reliability of .99. The statistics used to analyze the data were percentage, mean and standard deviation. The findings were as follows. 1. The perception of teachers in the educational development network Prakhonchai 2 towards the administrative competency of school administrators in 8 aspects, namely, achievement, good services, self-development, teamwork, analysis and synthesis, communication and motivation, personnel development , vision, as a whole was at the moderate level. 2. The comparison of the perception of teachers in the educationaldevelopment network Prakhonchai 2 towards the administrative competency of school administrators both as a whole and in each aspect was found that there were different among three types of schools: secondary, extended opportunity schools. and primary schools. The mean scores of the administrative competency of school administrators ranked from high to low were from the extended opportunity schools , followed by the primary school , and the secondary school, respectively. 2.1 The administrative competency of school administrators among three types of schools in the aspect of achievement was different. The mean scores ranked from high to low were from the extended opportunity schools , followed by the primary school ,and the secondary school , respectively. 2.2 The administrative competency of school administrators among three types of school in the aspect of good services was different. The mean scores ranked from high to low were from the primary school , followed by the extended opportunity schools , and the secondary school , respectively. 2.3 The administrative competency of school administrators among three types of schools in the aspect of self-development was different. The mean scores ranked from high to low were from the primary school , followed by the extended opportunity schools , and the secondary school , respectively. 2.4 The administrative competency of school administrators among three types of schools in the aspect of teamwork was different. The mean scores ranked from high to low were from the primary school ,followed by the extended opportunity schools , and the secondary school , respectively. 2.5 The administrative competency of school administrators among three types of schools in the aspect of analysis and synthesis was different. The mean scores ranked from high to low were from the extended opportunity schools , followed by the primary school , and the secondary school , respectively. 2.6 The administrative competency of school administrators among three types of schools in the aspect of communication and motivation was different. The mean scores ranked from high to low were from the extended opportunity schools , followed by the primary school , and the secondary school , respectively. 2.7 The administrative competency of school administrators among three types of schools in the aspect of aspect of personnel development was not different. The mean scores of both the extended opportunity schools and the primary school were equal , followed by the secondary school , respectively. 2.8 The administrative competency of school administrators among three types of schools in the aspect of vision was different. The mean scores ranked from high to low were form the extended opportunity schools , followed by the primary school , and the secondary school ,respectively. 3. The opinions and suggestions towards the administrative competency of school administrators as perceived by teachers in educational development network Prakhonchai 2 were that the school administratorsshould plan and follow up the working performances systematically , ascertain the guidelines for school development clearly, self-develop about technology, build and develop learning resources, investigate the needs of people who receive the services, listen to the public, have a good manner, participate in the parent and committee’s meeting, publicize the school information to community, send the personnel to attend the training courses, and study tour for the further school quality development. en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สมรรถนะ en_US
dc.subject การบริหาร en_US
dc.subject ผู้บริหารสถานศึกษา en_US
dc.subject Competency en_US
dc.subject administration en_US
dc.subject school administrators en_US
dc.title สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูในกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาประโคนชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 en_US
dc.title.alternative THE ADMINISTRATIVE COMPETENCY OF SCHOOL ADMINISTRATORS AS PERECIVED BY TEACHERS IN THE EDUCATIONAL DEVELOPMENT NETWORK PRAKHONCHAI 2 UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics