ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author จารุชา, พานนนท์
dc.date.accessioned 2017-09-27T08:15:21Z
dc.date.available 2017-09-27T08:15:21Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation บทความฉบับเต็ม ภาคบรรยาย การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2493
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 25 คน และ การอภิปรายกลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 37 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ เทศบาลตำบลสตึกที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสตึก จำนวน 3 คน ผู้สูงอายุใน เขตเทศบาลตำบลสตึก 16 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน รวมจำนวน 32 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน 2. เอกสาร ได้แก่ กฎระเบียบข้อบังคับโครงการและรายงานผลการปฎิบัติงานผู้สูงอายุในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 6 ด้าน ด้าน สุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านรายได้ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านนันทนาการ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายการเกื้อหนุน เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดสวัสดิการ ผู้สูงอายุ ศึกษาปัญหา อุปสรรคและผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลสตึกในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ มีความต้องการที่จะให้จัดสวัสดิการ 6 ด้าน ได้แก่ การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านรายได้ ด้านที่พักอาศัย ด้านนันทนาการ ด้านการบริการทาง สังคม และด้านการบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน โดยเฉพาะความต้องการการจัดสวัสดิการด้านรายได้ เป็นสิ่งที่ต้องการ มากที่สุดและด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งความต้องการดังกล่าวเป็นความต้องการที่สนองตอบต่อความต้องการทางด้าน ร่างกายและจิตใจ โดยต้องการให้ทางเทศบาลจัดสวัสดิการให้ครบทุกด้านตามที่ต้องการ 2) แนวทางการจัดสวัสดิการแก่ ผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลสตึก พบว่า แนวทางการจัดสวัสดิการเป็นแนวทางการจัดที่แยกประเด็นการจัดแต่ละด้านได้แก่ด้านรายได้ พบว่า เทศบาลต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับ การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเพิ่มเบี้ยยังชีพ และการจัดฝึกอบรมอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ ด้านการรักษาพยาบาล ควรจัด เจ้าหน้าที่เพื่อออกไปให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ การประสานความร่วมมือกับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และมี การจัดตั้งอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อสผ.) ด้านที่อยู่อาศัย ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่ มีสภาพชำรุดที่อยู่อาศัยไม่มีความมั่นคงแข็งแรง จัดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปให้คำแนะนำด้านสุขอนามัยของที่พักอาศัย ให้แก่บ้านเรือนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ และการจัดหาที่พักให้กับผู้สูงอายุที่ไม่มีที่พักอาศัยให้ทั่วถึง ด้านนันทนาการ ควรมี การจัดสรรงบประมาณในการจัดทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางศาสนาในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุได้พักผ่อน การจัด กิจกรรมวันผู้สูงอายุในเทศกาลสงกรานต์ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ควรจัดเทศบาล เคลื่อนที่เพื่อให้บริการด้านต่าง ๆ กับประชาชนอย่างน้อย 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง เพื่อจะได้ตรวจสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ให้ คำแนะนำวิธีการรักษาสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย และการจัดหาพาหนะรับ ส่ง ในการเข้ารับการตรวจร่างกายตามระยะเวลาที่โรงพยาบาลนัดหมายด้านการบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน เป็นสิ่งที่จำเป็น ต่อการพัฒนาสวัสดิการในด้านต่าง ๆ ของเทศบาลตำบลสตึก ควรการประสานกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่ เกี่ยวข้อง กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มประชาสังคมในชุมชนให้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาและจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ นอกจากนั้น การจัดตั้งชมรมเครือข่ายผู้สูงอายุเป็นแนวทางหนึ่งที่จะก่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ได้ en_US
dc.description.abstract ABSTRACT The purpose of this research was to study the elderly welfare management development guidelines in Satuek Subdistrict municipality, Satuek District, Buriram Province. The samples 25 people, selected by using purposive random sampling, and 12 people were for focus group discussion in total of 37 people. The others personnel were the service providers including 3 municipality staff responded for taking care of elderly welfare, 2 people for each community in total of 32 people, and 2 community leaders (head of village, assistant of head village, and community chairperson). The documents were the regulations and elderly reports in 6 aspects, namely; health and care payment; income; residency; homage; social, family, and guardian stability; and social service establishing and hospitality network. The findings were as follows: 1. The needs of elderly welfare management in 6 aspects were health and care payment; income; residency; homage; social, family, and guardian stability; and social service establishing and hospitality network. Especially, the income was the most needs, and the health was the needs relate d to physical and mental needs. 2. When classifying the elderly welfare guidelines into the aspects, it was found as following: 1) income: the municipality should allocate the adding budget or cooperate with the related organizations forasking the budget support for adding the salary and provide the occupation training to elderly; 2) care payment: the staff should allow for going to provide the suggestions to people in taking care their health, cooperate with village health volunteers and appoint the volunteers to take care the elderly; 3) residency: the budget for repairing the elderly houses should be allocate, provided the staff to give the healthy suggestions of their houses, and gave the resident to elderly thoroughly; 4) homage: the budget for study tour at religion places should be allocated to give the chance to relax; 5) social, family, and guardian stability: the municipality should be provided the mobile municipality to give the others services to people at least 2 months per time for checking their health, provide suggestions, do the exercises to them; 6) social service establishing and hospitality network: it should be consulted with the related organizations. en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนา/ การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสตึก en_US
dc.subject elderly welfare management development guidelines, Satuek Subdistrict municipality, income en_US
dc.title การพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A Study of Elderly Welfare Management Development Guidelines in Satuek Subdistrict Municipality, Satuek District, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics