ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนตาบลจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author เตือนใจ, ไชยโคตร
dc.date.accessioned 2017-09-27T07:09:18Z
dc.date.available 2017-09-27T07:09:18Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4" en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2436
dc.description.abstract บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทการบริหารทรัพยากร ทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนตาบลจังหวัดบุรีรัมย์ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ และด้านการบริหารจัดการ จาแนกตามสถานภาพตาแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประชากรประกอบด้วย นักวิชาการศึกษาและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตาบลเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ในปีงบประมาณ 2554 จานวน 510 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสาเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่างจานวน 299 คน หลังจากนั้นทาการสุ่มแบบชั้นภูมิ ตามสถานภาพตาแหน่งให้กระจายไปทุกอาเภอตามสัดส่วนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย ได้นักวิชาการศึกษา จานวน 113 คน และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จานวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบคาถามปลายเปิด ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.9766 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของนักวิชาการศึกษาและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีต่อบทบาท การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนตาบลจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับน้อย โดยเรียงด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุด 3 อันดับแรก คือ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ ด้านบริหารจัดการ และด้านบุคลากร 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักวิชาการศึกษาและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตาบลจังหวัดบุรีรัมย์ จาแนกตามสถานภาพตาแหน่งและประสบการณ์ใน การปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นต่อบทบาทการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนตาบลจังหวัดบุรีรัมย์โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของนักวิชาการศึกษาและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตาบลจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีค่าร้อยละสูงสุด ด้านบุคลากรคือ ควรเพิ่มจานวนบุคลากรด้านการศึกษาให้มากขึ้นรองลงมาคือ ควรส่งเสริมให้บุคลากร ด้านการศึกษาได้รับการฝึกอบรมหรือศึกษาดูงาน ด้านงบประมาณคือ ควรจัดสรรงบประมาณ ด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ ควรมีความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ คือ ควรมีความโปร่งใสในจัดหาวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ รองลงมาคือ ควรสนับสนุนให้มีวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่เพียงพอต่อความต้องการ และด้านการบริหารจัดการ คือ ยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการบริหารงาน รองลงมาคือ ไม่ควรบริหารงานแบบหวังผลทางการเมืองมากกว่าความสาเร็จของงาน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject บทบาท en_US
dc.subject การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา en_US
dc.subject นายกองค์การบริหารส่วนตาบล en_US
dc.title บทบาทการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนตาบลจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics