ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบความแข็งแรงของพันธะของหลักฟันเซอร์โคเนียเซรามิกที่ยึด ด้วยแอดฮีซีพ ซีเมนต์สองชนิด โดยใช้และไม่ใช้กาวไพรเมอร์สำหรับเซรามิก

Show simple item record

dc.contributor.author โกเมศร์, ธีระปริญญาวรรณ
dc.date.accessioned 2017-09-27T06:28:54Z
dc.date.available 2017-09-27T06:28:54Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2405
dc.description.abstract บทคัดย่อ การล้มเหลวของหลักฟันเซอร์โคเนีย ส่วนมากเกิดจากการหลวมหลุดของหลักฟัน ซึ่ง การเลือกใช้แอดฮีซีพ ซีเมนต์ รวมถึงการการปรับสภาพพื้นผิวของหลักฟันเซอร์โคเนียในการยึด ชิ้นงาน อาจมีผลต่อความแข็งแรงของพันธะของหลักฟันเซอร์โคเนีย ดังนั้น วัตถุประสงค์ของ การศึกษานี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงของพันธะของหลักฟันเซอร์โคเนีย ที่ยึดด้วยแอดฮีซีพ ซีเมนต์สองชนิด โดยใช้และไม่ใช้กาวไพรเมอร์สำหรับเซรามิก ก่อนยึดหลักฟันเซอร์โคเนีย หลักฟันเซอร์โคเนีย (Cosmopost , Ivoclar/vivadent, Liechtenstein) จำนวน 36 ชิ้น ถูก สุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (n=12) และยึดในช่องว่างสำหรับหลักฟันในแท่งอีพอกซี เรซิน ที่ถูกเตรียม โดยหัวเจาะ ที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด ในสองกลุ่มแรกยึดด้วยแอดฮีซีพ ซีเมนต์ ยี่ห้อ พานาเวียเอฟ 2.0 (Panavia F2.0, Kuraray Medical, Japan) ร่วมกับใช้และไม่ใช้กาวไพรเมอร์สำหรับเซรามิก (Clearlfil ceramic primer, Kuraray Medical, Japan) และหลักฟันกลุ่มที่เหลืออีกหนึ่งกลุ่ม ยึดด้วย แอดฮีซีพ ซีเมนต์ ยี่ห้อเคลียร์ฟิว เอสเอ ลูติ้ง (Clearfil SA luting, Kuraray Medical, Japan) จากนั้น ทำการตัดชิ้นงานตามแนวตั้งฉากกับแท่งอีพอกซี เรซินให้มีความหนา 2 มิลลิเมตรได้ชิ้นงาน 2 ชิ้น นำมาทดสอบความแข็งแรงของพันธะ ด้วยวิธีกด (push- out test) นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ตามด้วยทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ Bonferroni test พบว่าค่าความแข็งแรงของพันธะในกลุ่มเคลียร์ฟิว เอสเอ ลูติ้ง(4.80 ±0.71Mpa ) และ กลุ่มพานาเวียที่ใช้ร่วมกับกาวไพรเมอร์ (4.68 ±0.71MPa) มีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ เปรียบเทียบกับกลุ่ม พานาเวียเอฟ 2.0 ที่ไม่ใช้ร่วมกับกาวไพรเมอร์ (2.79 ±0.83MPa) เมื่อ P value<0.05 การศึกษาในครั้งนี้ พบว่าความแข็งแรงของพันธะการยึด มีค่าสูงขึ้นอาจเป็นผลมาจาก ปริมาณหมู่เอ็มดีพีที่มีมาก ในเคลียร์ฟิว เอสเอ ลูติ้ง ซีเมนต์ และเคลียร์ฟิว เซรามิก ไพรเมอร์ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject แอดฮีซีพ ซีเมนต์ en_US
dc.subject หลักฟันเซอร์โคเนียเซรามิก en_US
dc.subject กาวไพรเมอร์สำหรับเซรามิก en_US
dc.subject ความ แข็งแรง ของพันธะ en_US
dc.subject adhesive cement en_US
dc.subject zirconia ceramic posts en_US
dc.subject ceramic primer en_US
dc.subject bond strength en_US
dc.title การเปรียบเทียบความแข็งแรงของพันธะของหลักฟันเซอร์โคเนียเซรามิกที่ยึด ด้วยแอดฮีซีพ ซีเมนต์สองชนิด โดยใช้และไม่ใช้กาวไพรเมอร์สำหรับเซรามิก en_US
dc.title.alternative COMPARISON OF THE BOND STENGTH OF ZIRCONIA CERAMIC POSTS LUTED WITH TWO ADHESIVE CEMENTS WITH AND WITHOUT CERAMIC PRIMER en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics